วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

..ว่ากันด้วยเรื่อง "รู้ป่าวอั๊วเป็นใคร??"

..ว่ากันด้วยเรื่อง "รู้ป่าวอั๊วเป็นใคร??"



..ใครอ่ะ


..หากท่านทั้งหลายไปพูดคำๆนี้ แถวโรงเตี๊ยมสี ย่านสีลม แล้วล่ะก็ อาจโดน รุมกระทืบด้วยเพลงฝ่าเท้า หลายท่าก็เป็นได้..แต่หากว่าคำพูดนี้ เป็นคำพูดของคุณหนูรองแห่งบ้านแซ่ ก๊วย นาม เซียง ได้เอ่ยขึ้นในขณะปะมือกับ หลวงจีนแห่งตึกอรหันต์ (ล้อฮั่นตึ้ง) แห่งวัดเสียวลิ้มยี้ (เส้าหลิน) นาม บ้อเส็กเซี่ยงซือ นั่นเอง

..อันที่จริงนางมิได้กล่าวแบบนั้นหรอก เรามาท้าวความกันดีกว่า

ก๊วยพู้, ก๊วยพั่วลู่, ก๊วยเซียง

..เริ่มแรกของ ดาบมังกรหยก(มังกรหยกภาค 3) เป็นช่วงรอยต่อ ระหว่าง ภาค 2 และ ภาค 3 ในมังกรหยกไตรภาค โดยเหตุการณ์เป็น ช่วงที่ ก๊วยเซียง บุตรีคนรองของก๊วยเจ๋งไต้เฮียบ และอึ้งย้ง ได้เดินทางออกตามหา เอี้ยก้วย หลังจากไม่ได้เจอกันเลยตั้งแต่จบภาค 2 คือพี่แกวางมือจากยุทธภพ ไปกับเมียแก คือ เซียวเหล่งนึ่ง เร้นกายอยู่ ถ่ำสุสานโบราณรึเปล่าไม่แน่ใจ

..ระหว่างที่ตามหาเอี้ยก้วยนั้นก๊วยเซียงก็ได้ขึ้นไปวัดเส้าหลิน เพื่อถามหา บ้อเส็กเซี่ยงซือ สหายของ เอี้ยก้วย จะได้สอบถามข่าวคราวของ จอมยุทธอินทรี จนได้พบกับ กักเอี้ยงไต้ซือ และ เตียกุนป้อ (เตียซำฮง ตอนเด็ก) อีกครั้ง หลังจากเจอกันตอนท้ายภาคสอง โดยที่ กักเอี้ยงไต้ซือได้ถูกทำโทษ ให้แบกน้ำ และ ล่ามโซ่ จากโทษที่ได้ทำคัมภีร์ ลังกาวตาลสูตร หายไป

วัดเสียวลิ้มยี้ (วัดเส้าหลิน)

..จนได้ปะทะกับหลวงจีนวัดเส้าหลิน และได้ต่อกรกับ บ้อเส็กเซี่ยงซือ โดยที่ทั้งสองไม่ทราบว่าใครเป็นใคร

..บ้อเส็กเซี่ยงซือ ถามชื่อแซ่ อาจารย์ของ ก๊วยเซียง แต่นางไม่อยากให้ ครอบครัวต้องมาลำบากเพราะนางซนเลยไม่ได้บอกออกไป ดังนั้น บ้อเส็กเซี่ยงซือ จึงบอกว่าจะประลอง 10 เพลง แล้วจะบอก ค่ายพรรคที่ ก๊วยเซียงสังกัดอยู่ให้ได้ ถ้าทำไม่ได้จะยกน้ำแทน กักเอี้ยงไต้ซือ เป็นการทำโทษแทน ก๊วยเซียงตกลงรับคำท้า "รู้ป่าวอั๊วเป็นใคร" แล้วจึงเริ่ม อัดกัน

หยาง มี่ รับบทเป็น ก๊วยเซียง จาก มังกรหยกตำนานศึกเทพอินทรี 2006

..โดย 10 กระบวนท่าที่ ก๊วยเซียงใช้ออกนั้น ประกอบไปด้วย

1. กระบวนท่าในเพลงกระบี่บุปผาร่วง นาม บ้วนจี่โชยอั้ง (หมื่นม่วงพันแดงโรจน์) ของ อึ้งเอี๊ยะซือ
2. กระบวนท่าในเพลงกระบี่สำนักช้วนจิน นาม เทียนซิ้งต้อฮุ่ย (เทพสวรรค์ย้อนแขวน) สอนโดย ก๊วยเจ๋ง
3. กระบวนท่าในเพลงไม้เท้าตีสุนัข นาม อักเคี่ยงลั่งโล่ว (สุนัขดุขวางทาง)
"เพลงไม้เท้าตีสุนัข ถ่ายทอดให้แก่เจ้าสำนักเท่านั้น แต่ที่ ก๊วยเซียงใช้ออก เพราะเคยแอบเรียนมาท่าสองท่า จาก ลุ่อู่คา หัวหน้าพรรครุ่นก่อน อย่าว่าแต่แค่นี้เลย อึ้งย้ง แม่ของก๊วยเซียงเอง ก็เป็นเจ้าสำนักพรรคกระยาจกมาก่อนเช่นกัน นอกจากนี้ เยลุกชี้ พี่เขยนาง ก็เป็น เจ้าสำนักรุ่นปัจจุบันอยู่ ถึงไม่เข้าใจถ่องแท้ แต่ก็ใช้ออกได้"

4. กระบวนท่าในเพลงกระบี่สุรางคนางค์ นาม เซี่ยวฮึ่งเง่ยเก๊ก (ศิลปไผ่ในสวนน้อย) ของเซียวเหล่งนึ่ง
5. กระบวนท่่าในเพลงกระบี่ สี่ทงโป๊ยตั๊ก (ตัดผ่านทุกทิศทาง) ของ เอี้ยก้วย ที่เคยสอนให้ เตียกุนป้อ เป็นเพลงฝ่ามือ แต่ ก๊วยเซียงแปลงเป็นเพลงกระบี่
6. วิชา นี้ชิวกง (วิชาปลาเลน) ใช้เพื่อลื่นหลุดจากการโจมตี ของ เอ็งโกว

7. กระบวนท่ากระบี่ เจ่กเอี้ยงจี้ (ดรรชนีเอกสุริยัน) โดยใช้กระบี่แทน ดรรชนี วิชานี้ บู๊ซิวบุ้นสอนให้
8. กระบวนท่าที่ 54 ใน 72 แนวทางหมัด คงเม้งคุ้ง (หมัดสูญจำรัส) ของ จิวแป๊ะทง นาม เหมียวชิ่วคงคง (มือวิเศษว่างเปล่า)
9. ท่าทิพู้ซี่ชิ่ว (มือพัดใบลานเหล็ก) สอนโดย อ้วงง้วนเพี้ย ภรรยา ของ บู๊ซิวบุ้น เป็นเคล็ดวิชาตกทอดจาก ฮิ้วโชยยิ่มอดีต หัวหน้าพรรคมือเหล็ก
10. กระบวนท่าในเพลงหมัดอรหันต์ นาม โค้วไฮ้ฮ้วยเท้า (กลับใจจากทะเลทุกข์) ของสำนัก เซียวลิ้มยี้ (เส้าหลิน)

..สุดท้าย บ้อเส็กเซี่ยงซือทายออกว่า นางเป็นใคร แต่ไม่ใช่ จาก กระบวนท่าทั้ง 10 หรอก แต่เพราะ อรหันต์เหล็กคู่ ที่นางทำหล่นขณะต่อสู้ต่างหาก

..อรหันต์เหล็กคู่นี้ เป็นของขวัญที่ บ้อเส็กเซี่ยงซือ ฝากคนเอามาให้ ก๊วยเซียงในวันเกิดครบรอบ 16 ปี โดย เอี้ยก้วย ได้ไปเกณฑ์ ยอดฝีมือ ทั้ง ธรรมะ อธรรม มาอวยพรวันเกิดให้ก๊วยเซียงในภาค 2 ทำให้ หลวงจีนบ้อเส็กเซี่ยงซือ นึกออกและกล่าวไปว่า

.."เราไหนเลยพ่ายแพ้ได้ เราทราบว่าบิดาท่านคือ ยอดวีรบุรุษก๊วยเจ๋ง มารดาท่านคือ วีรสตรีอึ้งย้ง งั่วกง(ตา) ท่านเป็นประมุขเกาะดอกท้อ, ก๊วยยี่เสียวเจี้ยะ(คุณหนูรองแซ่ก๊วย) มีนาม 'เซียง' ซึ่งเป็นคำเดียวกับเมือง เซียงเอี้ยง บิดาท่านร่ำเรียนวิชาฝีมือของกังน้ำฉิกไกว่ (เจ็ดประหลาดแดงกังหนำ) เก้าจี้ซิ้งก่าย (ขอทานเทพยดาเก้านิ้ว) เกาะดอกท้อและสำนักช้วนจิน ก๊วยยี่เสียวเจี้ยะมีการศึกษาอย่างกว้างขวาง พลังฝีมือไม่ธรรมดาจริงๆ"

หวงชิวเซิน รับบท อึ้งเอี๊ยซือ ใน มังกรหยก 2008

หมายเหตุ: อันที่จริง ก๊วยเซียงใช้ออก 11 กระบวนท่ามากกว่า เพราะก่อนใช้ 10 ท่าดังกล่าว ก๊วยเซียงใช้ วิชา ลั้งฮวยฮุกฮวกชิ่ว (มือกล้วยไม้ปาดจุด) เป็นวิชาของ อึ้งเอี้ยซือ ใส่ บ้อเส็กเซี่ยงซือ ก่อน

..ว่าด้วยเรื่อง "แม่นางชุดเหลือง"

..ว่าด้วยเรื่อง "แม่นางชุดเหลือง"


..โอ้แม่นางชุดเหลืองทั้งหลาย!!

..หลายท่านที่เป็นแฟน มังกรหยกภาคสอง อาจจะชื่นชอบ บทบาทของเซียวเหล่งนึ่ง(Xiaolongnü) และ เอี้ยก้วย (Yang Guo) โดยเฉพาะคอหนังจีน ที่เคยชมซีรี่ย์ ที่เคยเอามาฉายทางช่อง 3 ที่สร้างชื่อเสียงเป็นอย่างมากให้กับ หวง เสี่ยวหมิง (Huang Xiaoming) ในบท เอี้ยก้วย และ หลิวอี้เฟย (Liu Yifei) ในบท เซียวเหล่งนึ่ง

หลิวอี้เฟย กับ หวงเสี่ยวหมิง จากซีรีย์ มังกรหยก ตำนานศึกเทพอินทรี ปี 2006

..ตกลงแล้ว แม่นางชุดเหลือง เป็นอะไรกับ จอมยุทธอินทรี และ ฮูหยิน กันแน่? ลูก หลาน หรือ ศิษย์? เอาเป็นว่าเรามาวิเคราะห์เล่นๆกันดีกว่า จากข้อมูลด้านเดียวของผู้เขียน (ฮา)

..เรื่องว่านางเป็น เจ้าสำนักสุสานโบราณ รึเปล่าในนิยายไม่ได้ระบุไว้เป็น ลายลักษณ์อักษร แต่ตามข้อมูลหลายๆอย่างมาประกอบกัน ก็อาจจะคาดได้ว่านางเป็น นี่แหละ แล้วเรื่องนางเป็นลุกหลานของเอี้ยก้วยรึเปล่าก็เช่นกัน ในนวนิยายก็ไม่ได้ระบุไว้ตามเคย แต่ทิ้งคำที่เป็นปริศนาเอาไว้ให้คนคิดกันเอง แต่จากปริศนาที่ทิ้งไว้ก็คาดได้ว่านางก็คงจะเป็นน่ะที่ว่า "หลังเขากังหนำ ในสุสานโบราณ คู่รักเจ้าอินทรี สาปสูญจาก ยุทธภพ"


..ส่วนวิชากรงเล็บกระดูกขาว ที่นางฝึกนั้น นางค่อยๆฝึกปรือตามแนวทางเที่ยงแท้ตามที่ในคัมภีร์เก้าอิมที่สลักไว้ที่ผนังถ้ำสุสานโบราณ โดยเฮ้งเต็งเอี้ยง เพื่อข่มกับวิชากระบี่สุรางคนางใจพิสุทธิ์ของลิ้มเชียวเอ็งเพียงเท่านั้น คาดว่านางไม่ได้ฝึกปรือเก้าอิมแบบเวอร์ชั่นเต็มแต่อย่างใด จนกลายเป็น กรงเล็บเทพยดา

..ซึ่งไม่เหมือนกับวิชากรงเล็บกระดูกขาวที่ บ๊วยเถียวหวง กับ จิวจี้เยียก ฝึก แบบลัดใช้เวลาฝึกไม่มากเท่าไหร่ แต่ผลเสียกับผู้ฝึกจะมีมากจนหลงเข้าสู่ทางมาร


..ครั้งแรกที่ แม่นางชุดเหลือง ปรากฎกายเพื่อคลี่คลายปัญหาที่พรรคกระยาจก
บรรยายไว้ว่า


.."....ในเสียงดนตรีเสนาะโสต ปรากฎสตรีสาวสวมใส่เสื้อผ้าเบาบางสีเหลืองอ่อนเดินช้าๆเข้ามา มือซ้ายจูงเด็กหญิงอายุสิบสอง สิบสามปีนางหนึ่ง สตรีนางนี้มีอายุ ยี่สิบเจ็ดยี่สิบแปดปี รูปโฉมงดงาม บุคลิกเฉิดฉันเพียงแต่ใบหน้าขาวซีดเกินไป ไม่มีสีเลือดแม้แต่น้อย หญิงงามชุดเหลืองกวาดตาเที่ยวหนึ่งคล้ายประกายสายฟ้าสองสายกวาดกราดผ่านทุกผู้คนในห้องโถง สุดท้ายหยุดนิ่ง"

..หลังจากนั้นก็พูดคุยกันถึงเรื่อง ตั้งอิ้วเหลียง ตั้งหัวหน้าพรรคกระยาจกปลอม พร้อมทั้ง บอกวิธีของเซ่งคุนออกมา สุดท้าย ทุกคนทราบเพียงว่านางแซ่ เอี้ย มีคววามสัมพันธ์กับ พรรคกระยาจกรุ่นก่อนๆ จึงยื่นมือช่วยเหลือเท่านั้น

.."พี่สาวชุดเหลือง"

..จากสมการ ถ้าตามปกติแล้วน่าจะเป็น "หลาน" นี่หล่ะครับ ในที่นี้จะเอาเกณเตียซำฮงมาเป็นตัววัดนะครับ เพราะแม่

..นางเสื้อเหลืองออกมาในช่วงเตียซำฮงที่ยังมีชีวิตอยู่

หลังจบภาค2 (จอมยุทธอินทรี)

เอี้ยก้วย อายุ 36 ปี 
เซียวเหล่งนึ่ง อายุ 40 ปี 
ก๊วยเซียง อายุ 16 ปี 
เตียซำฮง อายุ 14 ปี ( แก่กว่าก๊วยเซียง 2 ปี) 

..ช่วงรอยต่อ ภาค2 จอมยุทธอินทรี และ 3 ดาบมังกรหยก

ก๊วยเซียงอายุ 40 ออกบวช 
เอี้ยก้วยอายุ 60 ปี 
เซียวเหล่งนึ่งอายุ 64 ปี 
แน่นอนว่าเตียซำฮงต้องอายุ 38 ปี 

..ตอนนั้นเซียวเหล่งนึ่งและเตียซำฮงอายุห่างกัน 26 ปี

ในภาค 3ดาบมังกรหยก เตียซำฮงมีอายุ 110 ปี 
ถ้าเซียวเหล่งนึ่งยังอยู่ก็อายุ 136 ปี 
และช่วงนี้ทายาทของทั้งคู่ออกมาในช่วง 27-28 ปี 

..ก่อน 40 เซียวเหล่งนึ่งไม่มีลูกและไม่ได้ตั้งท้อง เพราะเนื้อเรื่องไม่ได้กล่าวถึง แน่นอนว่าถ้าจะมีก็มีหลัง 40 หลังจบภาค 2 ไปแล้ว ก็ประมาณว่า

ถ้าเซียวเหล่งนึงมีลูกตอนอายุ 40 ปี ยุคเตียซำฮง 110 ปี ลูกของเซียวเหล้งนึ่งอายุก็คง 96 ปี
ถ้าเซียวเหล่งนึงมีลูกตอนอายุ 50 ปี ยุคเตียซำฮง 110 ปี ลูกของเซียวเหล้งนึ่งอายุก็คง 86 ปี
ถ้าเซียวเหล่งนึงมีลูกตอนอายุ 60 ปี ยุคเตียซำฮง 110 ปี ลูกของเซียวเหล้งนึ่งอายุก็คง 76 ปี
ถ้าเซียวเหล่งนึงมีลูกตอนอายุ 70 ปี ยุคเตียซำฮง 110 ปี ลูกของเซียวเหล้งนึ่งอายุก็คง 66 ปี
ถ้าเซียวเหล่งนึงมีลูกตอนอายุ 80 ปี ยุคเตียซำฮง 110 ปี ลูกของเซียวเหล้งนึ่งอายุก็คง 56 ปี
ถ้าเซียวเหล่งนึงมีลูกตอนอายุ 90 ปี ยุคเตียซำฮง 110 ปี ลูกของเซียวเหล้งนึ่งอายุก็คง 46 ปี
ถ้าเซียวเหล่งนึงมีลูกตอนอายุ 100 ปี ยุคเตียซำฮง 110 ปี ลูกของเซียวเหล้งนึ่งอายุก็คง 36 ปี

..จากเกณฑ์ลูกของเซียวเหล่งนึ่ง ไม่มีอายุ 27- 28 เลย มีแต่เกินทั้งนั้น นอกเสียจากมีลูกตอนอายุ 110 ปี แต่เซียวเหล่งนึ่งอยู่ไม่ถึงและเป็นไปได้ยากที่จะมีลูกในช่วงนี้ เพราะมันแก่ชราเต็มที่แล้ว แค่ 40 ขึ้นก็มีลูกยากแล้ว แต่ที่ยกตัวอย่างมาให้ดู ก็คือไม่ว่าลูกจะเกิดมาช่วงอายุเท่าไร ลูกของนางก็เกินอายุ 27-28 อยูดี แน่นอนว่ามันต้องเป็นหลานหล่ะครับ

..จะให้เกินมากกว่านั้นต้องเป็นเหลน แต่ถ้าจะบอกว่าเป็นลูกในช่วงเกณฑ์อายุนี้หมดสิทธ์

Credit : YodYut

.....................


วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

..ว่าด้วยเรื่อง ไท่เก๊ก

..ว่าด้วยเรื่อง ไท่เก๊ก!


เก๊ก..แท้เหลา!!


..ว่ากันด้วยเรื่อง ไท่เก๊ก

..ไม่รู้ว่าจะเขียนอะไรดีช่วงนี้ พอดีเดินสวนกับชายคนหนึ่ง ในโรงเตี๊ยม หมอนี่ "เก๊ก" มาก ว่าแล้วเลยนึกขึ้นได้ว่าน่าจะเขียนเรื่อง "ไท่เก๊ก"...โดยที่ไม่มีความรู้เรื่องนี้เลย เคยอ่านเจอแต่ใน "ดาบมังกรหยก" ว่าด้วยเป็นวิชา ที่ปรมาจารย์เตียซำฮง หรือ จางซานฟง บัญญัติขึ้น..นั่นไงหล่ะมันเกี่ยวโยงกันอยู่ มารับทราบเกร็ดเล็กน้อยๆเลยดีกว่า


..วิชาไท่เก๊ก ไท่จี๋เฉวียน หรือ ไท่เก๊กคุ้ง เดิมทีก่อนจะมาเป็น ศิลปยุทธ์ที่มีชื่อเสียงนี้ ลักษณะการใช้ ไท่เก๊ก จะออกไปทางแนว บู๊มากกว่าในปัจจุบันนี้ ก็เป็น วิทยายุทธ์นั่นแหละ

..ไท่เก๊กเป็น "มวย" ซึ่งมีลักษณะการฝึกแบบเป็นระบบทั้ง "Inside & Outside" คือ นอก ใน ร่างกาย และจิตใจ โดยยึดวิถีปรัชญาเต๋า คือ วิถีธรรมชาติ อ่อน,ร้อน,เย็น,สว่าง มืด ฯลฯ เน้นการไม่ออกแรง อย่างที่จะเคยเห็นในหนังจีนหลายๆเรื่อง ที่ว่า ใช้ อ่อนชนะแข็ง มวยไท่เก๊กนั้นมีชื่อเสียงในเรื่องการเคลื่อนไหวที่สง่างาม ผ่อนคลายและต่อเนื่อง การเคลื่อนไหวที่เนิบช้าและไม่ออกแรง ช่วยในการฝึกสมาธิจิต และทำให้จิตใจสงบไม่ฟุ้งซ่าน  การฝึกท่ามวยจะช่วยสร้างรูปแบบความสมดุลของการเคลื่อนไหวขึ้นไหม่ ซึ่งช่วยให้ร่างกายคงความสมดุล ไม่ฝืนธรรมชาติ กลับสู่โครงร่างลักษณะแบบทารกซึ่งทำให้มีความปลอดภัยสูง

ภาพแสดง การชมการต่อสู้ระหว่าง งูกับ นกกระเรียน

..ไม่มีใครใคร่ทราบประวัติแท้จริงของไท่เก๊กอย่างแน่ชัด แต่มากกว่าครึ่งจะกล่าวว่า ท่าน เตียซำฮง เป็นผู้คิดค้นขึ้นมา โดยได้ "Inspiration" จาก นกกระเรียนที่ตีกันอยู่กับงู บางตำนานก็บอกว่าไท่เก๊กเกิดมาก่อน ท่าน เตีย เพียงแต่ว่า ท่านเตียซำฮงมีชื่อเสียงมาก และก็เป็นทั้งคนฝึกมวย และสอนผู้คนด้วย ก็เลยติ๊ต่างว่า มวยนี้คิดขึ้นโดยท่านเอง แต่อย่างไรก็ตาม ท่านก็เป็นผู้รวมรวมไท่เก๊กขึ้นมาเป็นเรื่องเป็นราว ถือเป็น ปรมาจารย์ไท่เก๊กอยู่ดี


..มีบันทึกว่าท่านจางซานฟงมีศิษย์อยู่ 7 คน ที่ปรากฏในดาบมังกรหยกด้วยนั่น เรียงตามอาวุโส นั่นก็คือ 

1.ซ่งเอี้ยงเกี๊ยะ (Song Yuanqiao)
2.ยู้เน้ยจิว (Yu Lianzhou)
3.ยู้ไต้ง้ำ (Yu Daiyan)
4.เตียซงโค้ย (Zhang Songxi)
5.เตียชุ่ยซัว (Zhang Cuishan)
6.ฮึงลี้เต้ง (Yin Liting)
7.ม๊กเซียก๊ก (Mo Shenggu)

..โดยว่ากันว่าในภายหลังยังมีบันทึกของท่านซ่งเอี้ยงเกี๊ยเรื่องมวยไท่เก๊ก ตกทอดมาถึงปัจจุบันในหมู่ลูกหลานตระกูลซ่ง

..มีบางท่านเชื่อกันว่า ที่เรียกว่ามวยไท่เก๊กต่างๆ สายโน้นสายนี้ที่ฝึกๆ กันอยู่ หรือทะเลาะกันอยู่ว่าใครของแท้ไม่แท้นี่เป็นคนละมวยกับมวยไท่เก๊กดั้งเดิมของท่านจาง  ซึ่งมวยเดิมนั้นน่าจะสาบสูญไปแล้ว แต่หลักที่คลาสสิคที่สุดที่มักจะนำมาอ้างกันคือคัมภีร์ที่เขียนขึ้นโดยท่านหวังจง หรือหวังจงเย่ (Wang Zongyue) ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นศิษย์ของท่านจางสงซี หนึ่งในเจ็ดศิษย์รักของท่านจางซานฟงนั่นเอง มีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ด้วยซ้ำว่า “ภายหลังยุคของซานฟงยังมีหวังจง”

..ในปัจจุบันมวยมีมวยไท่เก๊กที่มีชื่อเสียงอยู่หลายตระกูล รวมทั้งที่ยังไม่ค่อยมีใครรู้จักอีกนับไม่ถ้วน  ที่ค่อนข้างแพร่หลายหน่อยก็มีอยู่ห้าสำนัก คือสำนักตระกูลเฉิน (ตั้ง) หยาง (เอี๊ย) อู๋ (โง้ว) อู่ (บู้) และซุน (ซึง)  ซึ่งมวยทั้งห้าตระกูลนี้ก็มีสายสัมพันธ์กันค่อนข้างแน่นแฟ้น สืบสาวประวัติการเกี่ยวข้องดองกันออกมาได้ชัดเจน

อ้างอิง 5 สำนัก จาก T'ai chi ch'uan lineage tree

วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

..ว่าด้วยเรื่อง 10 ปี จาก ดาบมังกรหยก

..ว่าด้วยเรื่อง 10 ปี จาก ดาบมังกรหยก


...
นักแสดงหลักจากดาบมังกรหยก ปี 2003



..ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่องแต่อย่างใด แต่ 10 ปีที่ว่านั่นคือเวลาที่ดาบมังกรหยกเวอร์ชัน 2003 ที่อาจกล่าวได้ว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก จากการฉายในประเทศไทย และแถบเอเชีย

..โดยนักแสดงหลักในชุดนั้นประกอบด้วย

ซูโหย่วเผิง Alec Su แสดงเป็น เตียบ่อกี้
เกาหยวนหยวน Gao Yuanyuan แสดงเป็น จิวจี้เยียก
เจียจิ้งเหวิน Alyssa Chia แสดงเป็น เตี่ยเมี่ยง,มินมิน
เฉินซิ่วลี่ Florence Tan แสดงเป็น เสียวเจียว

..ไม่น่าเชื่อ 10 ปีให้หลัง ทั้งสี่ ได้กลับมาร่วมงานกันอีกครั้ง ใน "แปดเทพอสูรมังกรฟ้า เวอร์ชัน 2013"
เวอร์ชันที่ได้ คิมคิบอม Kim Kibum นักร้องนักแสดงเกาหลี จาก Super Juniors มาเล่นเป็น ต้วนอี้ หรือ ต้วนอื้อ นั่นแหละ แต่ผู้เขียนมิได้ใส่ใจแต่อย่างใด เพราะ ชอบ Girl Groups มากกว่า - -"

........

ซูโหย่วเผิง ถ่ายรูปกับ เกาหยวนหยวน และ เจียจิ้งเหวิน

เฉินซิ่วลี่ ก็ร่วมแสดงใน 8 เทพอสูรเวอร์ชันใหม่เหมือนกัน

....................

..ทีนี้มาดูรายละเอียดเล็กน้อยกัน เกี่ยวกับบทบาทที่ทั้งสี่จะได้รับใน 8 เทพอสูรกัน

..โดย ซูโหย่วเผิง จะได้เล่นเป็น อู๋หยาจื่อ หรือ บ้อไง้จื้อ (WuyaZi) เจ้าสำนักสราญรมย์ซึ่งต่อมาถูก เต็งชุนชิว(ต่อมาเป็นเจ้าสำนักดาวดึงส์ หรือสำนักหมู่ดาว) ลูกศิษย์ แกเองนั่นแหละ ฟาดตกเขาเจ็บสาหัสมาแล้ว ภายหลังถ่ายทอดพลังฝีมือเจ็ดสิบปี และตำแหน่งประมุขให้ซิจุ๊ เพื่อให้ไปล้างแค้นปราบเต็งชุนชิว

..ส่วน เจียจิ้งเหวิน จะรับบท ลี้ชิวจุ้ย (Li Qiushui) ศิษย์น้องของ อู๋หยาจื่อที่มักชิงรักหักสวาทกับ นางเฒ่าทาริกาเทียนซัวศิษย์คนโตของสำนักสราญรมย์กันเสมอ เพราะหลงรัก อู๋หยาจื่อ

..ทว่าทั้งๆ ที่ทั้ง 2 ต่อสู้กันแย่งชิงมาตลอด แทนที่จะมีใจให้ใครคนใดคนหนึ่ง บ้อไง้จื้อกลับไปมีใจให้กับน้องสาวฝาแฝดของลี้ชิวจุ้ยแทน ซึ่งรับบทโดย เกาหยวนหยวน (ไม่ได้ระบุไว้ว่าชื่ออะไร บางสำนักว่าชื่อ ลี้ชางไห่ หรือ ลี้ปี้หยุน) ซึ่งในนิยายเป็นรูปสลักหยก ติต่างว่าเป็นน้องสาวของ ลี้ชิวจุ้ย

..โดยบทของ ลี้ชิวจุ้ย กับ น้องสาว จะเป็นคล้ายๆรับเชิญ บางฉากเท่านั้น ในตอนที่ "อู๋หยาจื่อ" อารมณ์สับสนวุ่นวายตัดไม่ขาด

..สุดท้าย เฉินซิ่วลี่ รับบท กันเป๋าเปา (Gan Baobao) หนึ่งในภรรยาของ ตวนเจี่ยซุ้ง หรือ ต้วนเจิ้งฉุน แห่งตาหลี่ นั่นเอง

...................

ภาพเปรียบเทียบ 10 ปีให้หลัง


..ว่าด้วยเรื่อง เคล็ดวิชาเก้าเอี้ยงจินเก็ง & เคล็ดวิชาเก้าอิมจินเก็ง!!


..ว่าด้วยเรื่อง เคล็ดวิชาเก้าเอี้ยงจินเก็ง & เคล็ดวิชาเก้าอิมจินเก็ง!!


..นี่คือวิชาที่มีชื่อเสียงสองวิชา ในเรื่อง มังกรหยก ทั้งสามภาค เปรียบได้เสมือนหยิน และ หยาง


- อิม (แต้จิ๋ว) = หยิน (จีนกลาง)
- เอี้ยง,เอี๊ยง (แต้จิ๋ว) = หยาง (จีนกลาง)

..นั่นคือ เก้าอิม (นพยม) เป็นวิชาในแนวทางเยือกเย็นอ่อนหยุ่น
..ส่วน เก้าเอี้ยง (นวภพ) เป็นวิชาในแนงทางร้อนแรงแกร่งกร้าว

..คนจีนใช้ 6 แทนหยิน และใช้ 9 แทนหยาง ดังจะเห็นว่ารูปหยินหยางเป็นเลข 69 ที่สอดคล้องสมดุลกันอยู่ มีจอมยุทธ(นักอ่าน)บางคนบอกว่าท่านกิมย้งตั้งชื่อไม่ถูก ที่ถูกต้องควรจะเป็น ลักอิมจินเก็ง กับ เก้าเอี้ยงจินเก็ง แต่ท่านกิมย้งก็ได้แก้ต่างอธิบายไว้แล้ว (ในเอี้ยก่วยเจ้าอินทรี สำนวนแปลของ น. นพรัตน์ เล่ม 4) ไปหาอ่านกันซะ..


..นักอ่านหลายท่านที่เคยอ่านมักตั้งคำถามว่า "ช้าก่อน!..ท่านคิดเห็นเป็นเช่นไรหากเรานำจอมยุทธ์ สองคนที่ฝึก 9เอี้ยง และ 9อิม มาประลองกันซักหลายกระบวนท่า"

..เอาเป็นว่า ข้าจะเล่าให้ท่านที่ไม่รู้จักวิชาสองอย่างนี้ก่อนล่ะกัน แล้วค่อยมาถกกัน

.......................

..เริ่มที่ "คัมภีร์เก้าอิม" ก่อน

- ที่มาของ คัมภีร์ คือมาจาก อึ้งเซียง เป็นนักปราชญ์ ได้บันทึกเคล็ดวิชาการต่อสู่ต่างๆ จากการรวบรวมความรู้ทั่วทุก สารทิศ เพื่อแก้แค้นศัตรู (แต่สุดท้าย เมื่อคัมภีร์ถูกรวมรวมครบถ้วน ศัตรูทั้งหลายกลับ ตายไปหมดแล้ว)

..โดยคัมภีร์มีด้วยกันสองส่วนคือ ส่วนต้น และส่วนปลาย โดยส่วนต้นนั้น เป็น เคล็ดวิชาภายใน ว่าด้วยการเดินลมปราณภายใน และส่วนปลาย เป็นกระบวนท่าภายนอก ซึ่งหากไม่มีส่วนต้นกำกับ อาจตีความผิดทำให้ดูว่าเป็นวิชามารเหี้ยมโหด

..นอกจากนี้ในส่วนปลายเองนี้ ยังมีการบันทึกข้อความ ที่เป็น ภาษา สันสกฤต อีกส่วน

- ในการประลองยุทธของจอมยุทธทั้ง 5 ( 5 ยอดฝีมือแห่งยุค) เจ้าสำนักช้วนจิน (เฮ้งเต็งเอี้ยง) เป็นผู้ชนะ ได้ครอบครองคัมภีร์ ต่อมา อาวเอี้ยงฮง เข้ามาขโมยคัมภีร์ที่สำนักช้วนจิน แต่พ่ายแพ้กลับไป

- เฮ้งเต็งเอี้ยง ก่อนสิ้นชีพ ได้สั่ง มิให้ศิษย์ในสำนัก ฝึกคัมภีร์นี้เด็ดขาด และ ได้ มอบหมาย ให้ เฒ่าทารก (จิวแป๊ะทง) นำคัมภีร์ไปซ่อนให้ห่างไกลผู้คน จิวแป๊ะทง จึงนำ คัมภีร์ แยกกันไปซ่อน ส่วนต้น ณ ที่แห่งหนึ่ง / ส่วนปลาย ณ ที่แห่งหนึ่ง


- หลังจากนี้ ก็เป็นเรื่องราว ของมังกรหยก ก่อนปรับปรุง และ หลังปรับปรุง ที่กิมย้งแก้ไขเนื้อเรื่องบางส่วน ข้าคงไม่พูดถึงละกันมันไม่เหมือนกันเรื่องคัมภีร์สองส่วนนี้ พวกเจ้าไปหาอ่านกันเอาเองเถิด..

......................



..ต่อมา "คัมภีร์เก้าเอี้ยง"

- เก้าเอี้ยงได้ถูกซ่อนไว้ในคัมภีร์ลังกาวสูตรที่พระถังซัมจั๋มอันเชิญมาจากชมพูทวีปกั๊กเอี้ยงไต้ซือเข้าใจผิดคิดว่าเป็นวิชา ฝึกร่างกายให้พร้อมเข้านั่งวิปัสสนาเท่านั้นเลยชวนให้เตียป้อกุน(เตียซำฮง---แต้จิ๋ว, จางซานฟง---จีนกลาง) ร่วมกันฝึก (โดยมีคำเล่าลือว่าวิชานี้เป็นของท่านฮุ่ยเคอที่ได้รับสืบทอดมาจากปรมาจารย์ตั๊กม้อ)

-หลังจากนั้นอีเค่อซีกับพวกลอบเข้ามาในหอคัมภีร์ แล้วก็หอบหิ้วคัมภีร์ต่างๆ รวมทั้งคัมภีร์ศาสนาอย่างคัมภีร์ลังกาวสูตรซึ่งพวกอีเค่อซีเข้าใจว่าเป็นวิชายุทธออกจากหอคัมภีร์ไป (พวกอีเค่อซีไม่รู้ว่ามีคัมภีร์ยุทธซ่อนอยู่ในนั้นจริงๆ)

-กั๊กเอี้ยงไต้ซือและเตียป้อกุนที่ดูแลหอคัมภีร์ ก็เลยตามหาพวกอีเค่อซีเพื่อขอคัมภีร์ลังกาวสูตรคืน เหตุผลที่ต้องขอคืน นั้นก็เพราะคัมภีร์ลังกาวสูตรนี้เป็นฉบับดั้งเดิม (ถ้าหากเป็นฉบับอื่น กั๊กเอี้ยงไต้ซือคงไม่ตามมาเอา ให้เสียเวลา)

-จนทั้งสองกลุ่มมาพบกับพวกเอี้ยก้วย เซียวเล้งนึ้ง และก้วยเซียง กำลังชมเขาฮั้วซัว(หัวซาน)อยู่ เอี้ยก้วยประหลาดใจที่กั๊กเอี้ยงไต้ซือ และเตียป้อกุนมีพลังลมปราณมากมายมหาศาล (กั๊กเอี้ยงไต้ซือนั้นกิมย้งบรรยายว่ามีพลังลมปราณมากกว่าเอี้ยก้วยหนึ่งขั้น ส่วนเตียซำฮง(ในตอนนั้น)มีพลังลมปราณน้อยกว่าเอี้ยก้วยอยู่สองขั้นซึ่งแค่นั้นถือว่าเก่งมากแล้ว ในยุคมังกรหยก)

-เตียป้อกุนเข้าต่อสู้กับพวกอีเค่อซี แต่ไม่สามารถเอาชนะได้ เพราะไม่เคยฝึกยุทธมาก่อน ดังนั้นเอี้ยก้วยเลยชี้แนะกระบวนท่าให้กับเตียป้อกุนไป จนสามารถชนะได้ พวกอีเค่อซีเห็นว่าสู้ไม่ได้แล้ว จึงได้ขับไล่ชะนีของตนเองจนมันตกเขาไป แล้วตนเองก็หลบหนีลงเขา (ชะนีตัวนั้นพวกอีเค่อซีได้ผ่าท้องซ่อนคัมภีร์ไว้ในนั้นก่อนแล้ว) พวกอีเค่อซีคาดหวังว่า ถ้ากลับมาอีกครั้งจะมารับชะนีกลับไป แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่ได้มารับชะนีไปอีกเลย

ดังนั้น ในดาบมังกรหยก เตียบ่อกี้จึงได้คัมภีร์มาจากการช่วยชะนีก็ด้วยประการฉะนี้


วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

..ว่าด้วยเรื่อง 5 ยอดฝีมือแห่งยุค(แรก)

..ว่าด้วยเรื่อง 5 ยอดฝีมือแห่งยุค(แรก)


กลาง:เฮ้งเตงเอี้ยง?

..แน่นอนว่า ในนิยายจีนกำลังภายในแทบจะทุกเรื่องก็ว่าได้ จะต้องมีปรมาจารย์ ยอดฝีมือแห่งยุค อยู่หลายคน เป็นผู้อาวุโสที่สอนวิชาลับสุดยอดในยุทธภพ

..ในบทความนี่จะกล่าวถึง 5 ยอดฝีมือแห่งยุค (แรก) แห่งนิยาย สามก๊ก เอ๊ย! มังกรหยก โดย ยอดฝีมือเหล่านี่ได้ถูกกล่าวถึงและมีบทบาทในนิยาย เรื่องมังกรหยกทั้งสามภาค (ภาคสามไม่แน่ใจว่ามีการเอ่ยถึงรึเปล่า..ผู้เขียนจำไม่ได้) ทั้ง 5 เข้าประลองยุทธ์ เพื่อชิงคัมภีร์ เก้าอิม ที่เขาหัวซานครั้งแรก

..แต่ทำไมต้องเป็นยุค (แรก) นั่นก็เพราะว่าตามเนื้อเรื่องท้ายๆภาคสองภาคจอมยุทธ์อินทรี ได้มีการปรับเปลี่ยนตำแหน่ง ไปตามยุคสมัยนั่นเอง

..เอาหล่ะเพื่อไม่เป็นการเสียเวลา เรามาทำความรู้จักกับพวกเค้าเหล่านี้กันเลย

1. เฮ้งเตงเอี้ยง ฉายา กลางอิทธิฤทธิ์
2. อึ้งเอี๊ยะซือ ฉายา ภูตบูรพา
3. อั้งฉิกกง ฉายา ยาจกอุดร
4. อิดเต็งไต้ซือ ฉายา ราชันย์ทักษิณ
5. อาวเอี๊ยงฮง ฉายา พิษประจิม

เฮ้งเตงเอี้ยง (หมายเหตุ:ใช้ภาพ คูชู่กี แทน)


เฮ้งเตงเอี้ยง (Wang Chongyang) .. ผู้ก่อตั้งนิกายช้วนจิน หรือช้วนจินก่า ในลัทธิเต๋า มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์

..สำหรับในนิยาย เฮ้งเตงเอี้ยงเป็นปรมาจารย์ผู้ก่อตั้งนิกายช้วนจินก่า และเป็นอันดับหนึ่งของห้ายอดฝีมือแห่งยุคที่ ชนะการประลองถกกระบี่เขาหัวซาน(ฮั่วซัว)ครั้งแรก ซึ่งได้ครองคัมภีร์เก้าอิม แต่ไม่ปราถนาที่จะฝึกยอดวิชา เพียงแต่ต้อง การไม่ให้ยุทธภพต้องวุ่นวาย จึงเก็บรักษาคัมภีร์ยุทธไว้ใต้เบาะ (ต่อมาให้ จิวแป๊ะทงเอาไปซ้อนหรือทำลาย)

..เฮ้งเตงเอี้ยงเป็นศิษย์ผู้พี่ของเฒ่าทารกจิวแป๊ะทง มีศิษย์เจ็ดคน เฮ้งเตงเอี้ยงเป็นคนมีเมตตา ฉลาดหลักแหลม คิดค้นวิชามากมาย เช่น พลังกำเนิดฟ้า เพลงกระบี่ช้วนจิน และค่ายกลเจ็ดดาวที่เหล่านักพรตทั้งเจ็ดเคยใช้รับมือกับมารบูร พาอึ้งเอ๊ยะซือมาแล้ว 

..เมื่อรู้ว่าตัวเองจะอยู่ได้อีกไม่นาน เฮ้งเตงเอี้ยงจึงเดินทางไปต้าหลี่ ถ่ายทอดยอดวิชาช้วนจินให้ราชันย์ทักษินต้วนตี่เฮง เพื่อไว้กำราบพิษประจิมไม่ให้ทำชั่วเมื่อตนตายไปเพราะวรยุทธแพ้ทางกันอยู่ 

..เฮ้งเตงเอี้ยงเป็นเจ้าของสุสานโบราณแต่ภายหลังได้ยกให้ลิ้มเซียวเอ็ง ซึ่งต่อมาลิ้มเซียวเอ็ง ก็เป็นผู้ก่อตั้งสำนักสุสานโบราณ ซึ่งเป็นอาจารย์ยายของลี้มกโช้ว และเซียวเล้งนึ่ง

 อึ้งเอีํยซือ


อึ้งเอี้ยซือ (Huang Yaoshi)  ... เป็นบิดาของอึ้งย้ง เป็นประมุขเกาะดอกท้อ และเป็น 1 ในห้ายอดฝีมือ 

..เป็นบุคคลเฉลียวฉลาดไม่ว่าจะบุ๋นหรือบู๊ มีฝีมือในด้านขลุ่ย, หมากรุก, หนังสือ, ภาพวาด,ค่ายกล แต่เป็นคนไม่ชอบผูกมัดไม่ยึดติดกับกฎเกณฑ์ประเพณีใด ความรักที่มีต่อภรรยาที่ตายจากไปเป็นสิ่งเดียวในชีวิตที่เขายึดติด บุคลิกของก๊วยเจ๋งทั้งซื่อทั้งทึ่มทำให้เขาไม่ค่อยชอบเท่าไหร่นัก 

..แต่ภายหลังได้พบเอี้ยก้วยที่มีลักษณะ คล้ายกับตนเอง (ธรรมะมีธรรม 7 ส่วน, อธรรมมีธรรมะ 7 ส่วน) ส่งผลให้คบหาเป็นสหายต่างวัย

..ขณะที่การสู้รบป้องกันเมืองเซียงเอี๊ยงดำเนินอยู่ ชาวตงง้วนอาศัยเขาเป็นผู้นำขบวนในค่ายกลกลุ่มดาว 28 กลุ่ม ช่วยเหลือก๊วยเซียงได้สำเร็จและขับไล่มองโกลได้อีกด้วย

..อึ้งเอี้ยซือ เป็นตัวแทนของปราชญ์เมธีแบบจีนแท้ๆ


อั้งฉิกกง

อั้งฉิกกง (Hong Qigong)...เป็นหนึ่งในห้ายอดฝีมือที่ประลองยุทธเขาหัวซาน เป็นประมุขพรรคกระยาจก 

..แตกฉานวิชาสิบแปดฝ่ามือพิชิตมังกร และเพลงไม้เท้าตีสุนัข รักคุณธรรม ชอบท่องเที่ยว และโปรดปรานอาหารเลิศรส ทำให้ครั้งหนึ่งเคยเสียงานใหญ่เพราะห่วงกิน จึงลงโทษตัวเองต่อหน้าศิษย์พรรคยาจกด้วยการตัดนิ้วชี้ข้างขวาตัวเองเป็นการไถ่โทษ ..จึงมีอีกฉายาว่า ยาจกเก้าดรรชนี

..อั้งฉิกกงโปรดฝีมือการทำอาหารของอึ้งย้งเป็นที่สุด จึงรับก๊วยเจ๋งและอึ้งย้งเป็นศิษย์ ถ่ายทอด 18 ผ่ามือพิชิตมังกรให้ก๊วยเจ๋ง และเพลงไม้ตีสุนัขให้อึ้งย้ง ภายหลังถูกพิษประจิมอาวเอี๊ยงฮงลอบทำร้ายจึงมอบ ตำแหน่งประมุขพรรคยาจกให้อึ้งย้งดูแลแทน ยาจกอุดรอั้งฉิกกงกับพิษประจิมอาวเอี้ยงฮงเป็นศัตรูกันมาโดยตลอด 

..แต่เมื่อถึงวาระสุดท้ายทั้งสองกลับลืมความแค้นที่มีต่อกัน และจากไปพร้อมกันอย่างสงบ

อาวเอี้ยงฮง

อาวเอี๊ยงฮง (Ouyang Feng)..เป็นหนึ่งในห้ายอดฝีมือที่ประลองยุทธบนเขาหัวซาน เชี่ยวชาญการใช้พิษ และสัตว์มีพิษต่างๆ 

..แตกฉานพลังลมปราณคางคก และเพลงไม้เท้าอสรพิษ พลังคางคกของอาวเอี๊ยงฮงแพ้ทางกับวรยุทธของเฮ้งเตงเอี๊ยงและราชันย์ทักษิณ โดยเฉพาะดรรชนีเอกสุริยัน

..อาวเอี๊ยงฮงมีบุตรชายหนึ่งคนชื่ออาวเอี๊ยงโคก ซึ่งเกิดกับพี่สะใภ้ ภายหลังอาวเอี๊ยงโคกถูกเอี้ยคังฆ่าตาย 

..อาวเอี๊ยงฮง เคยบังคับให้ก๊วยเจ๋งเขียนเคล็ดวิชาในคัมภีร์เก้าอิมจินเก็งให้ตน แต่ก๊วยเจ๋งเขียนคัมภีร์ปลอมให้ อึ้งย้งจึงใช้อุบายบอกเคล็ดคัมภีร์เก้าอิมแบบทวนทิศให้อาวเอี๊ยงฮงฝึกตามจนอาวเอี๊ยงฮงถูกธาตุไฟแทรกกลายเป็นคนเสียสติ 

..ในภายหลังอาวเอี๊ยงฮงรับเอี้ยก่วยเป็นบุตรบุญธรรม

อิดเต็งไต้ซือ,ต้วนตี่เฮง

อิดเต็งไต้ซือ (Duan Zhixing) ....เดิมเป็นฮ่องเต้แคว้นต้าหลี่ชื่อ ต้วนตี่เฮง หนึ่งในห้ายอดฝีมือที่ประลองยุทธถกกระบี่เขาหัวซาน ฉายาราชันย์ทักษิณ 

..แตกฉานวิชาการแพทย์ มีดรรชนีเอกสุริยัน ซึ่งเป็นวิชาที่พิษประจิมเกรงมากเพราะสามารถสยบพลัง
คางคกได้ ภายหลังออกบวชไม่ยุ่งเรื่องทางโลก ต่อมาอึ้งย้งเปลี่ยนฉายาให้ใหม่ว่า สมณะทักษิณ เดิมทีเชื้อพระวงศ์ไต้ลี้

..ในนิยายกำลังภายในของกิมย้ง ล้วนเป็นยอดฝีมือทั้งสิ้น นอกจากดัชนีเอกสุริยันแล้ว ยังมีกระบี่หกชีพจรที่เป็นสุด

..ยอดวิชาดัชนีทั้งหก (มือ1ข้างกับนิ้วโป้งอีก1) แต่นอกจากต้วนอี้ใน 8 เทพอสูรมังกรฟ้าแล้ว ยังไม่มีใครฝึกได้สำเร็จทั้งหกชีพจรในบุคคลคนเดียว (นั่นเพราะต้วนอี้บังเอิญฝึกลมปราณภูติอุดร ดึงเอาพลังของคนอื่นๆจำนวนมากมาเป็นของตนได้โดยไม่รู้ตัว )


...............................................


วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

..ว่าด้วยเรื่อง กังหนำ (กังหนำ สไตล์)


..ว่าด้วยเรื่อง กังหนำ (กังหนำ สไตล์)


"ถ้าจะกล่าวถึง กังหนำ ในเรื่องมังกรหยกแล้ว ผู้อ่านทุกท่านที่เคยอ่านต้องนึกถึง 7 ประหลาดแห่งกังหนำ เป็นแน่แท้ แล้ว กังหนำ นี่มันอยู่ตรงส่วนไหนของประเทศจีนหล่ะ แล้วทำไมต้อง 7 ประหลาด..บทความต่อจากนี้จะเป็นการเล่าให้ท่านผู้อ่านผู้ไม่เคยรู้จัก กังหนำ (สไตล์) ได้พอเห็นภาพกันครับ..

"กังหนำ กังนั้ม หรือ เจียงหนาน  (Jiangnan) ตั้งอยู่ ภาคใต้ของมณฑลเจียงซูและภาคเหนือของมณฑลเจ้อเจียง พื้นที่แถวนี้มีธรรมชาติงดงาม มีทะเลสาบ มีคลื่นทะเลอันเลื่องชื่อ (คลื่นทะเลเฉียนถัง) มีแน่น้ำฉังเจียง (แยงซีเกียง "Yangtze River") ที่แต้มสีสันแก่ชีวิตรวมทั้งมีประวัติศาสตร์อันยาวนานและวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองกลับมาเปิดพจนานุกรมขนดใหญ่ดูหลายเล่ม ก็ให้นิยามคำว่า เจียงหนาน ต่างกันบ้างเป็น 3 กลุ่มดังนี้


หมายถึง มณฑลเจ้อเจียง(Zhejiang) และภาคใต้ของมณฑลเจียงซู(Jiangsu)
หมายถึง ภาคใต้ของมณฑลอานฮุย(Anhui) ภาคใต้ของมณฑลเจียงซู และภาคเหนือของมณฑลเจ้อเจียง
หมายถึง ภาคใต้ของมณฑลอานฮุย ภาคใต้ของมณฑลเจียงซู และมณฑลเจ้อเจียง

จะเห็นได้ว่า ทั้ง 3 กลุ่มกล่าวตรงกันว่า หมายถึง ภาคใต้ของมณฑลเจียงซู ส่วนมณฑลเจ้อเจียงนั้นมีทั้งที่จำกัดเขตเฉพาะภาคเหนือ และที่คลุมพื้นที่ไปทั่ว และมีอยู่กลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้รวมพื้นที่ภาคใต้ของมณฑลอานฮุยไว้ในเจียงหนาน

..ซึ่งตามข้อมูลแล้ว กังหนำ หรือ เจียงหนาน ก็คือ พื้นที่อุดมสมบูรณ์ในบริเวณ 3 มณฑลด้วยกัน บริเวณภาคกลางเบ้ มาทางตะวันตกของจีน


..ทีนี้ ใครคือ 7 ประหลาดกังหนำ?


7 ประหลาดกังหนำ คือ ตัวละครที่มีบทบาทมาก ใน มังกรหยกภาคแรก ประกอบไปด้วย
- ค้างคาวเหิน กัวเต็งอัก (Ke Zhen'e) มีวิชา "ไม้เท้าปราบมาร"
- บัณฑิตมือวิเศษ จูชง (Zhu Cong) มีวิชา "หยุ่นข้อต่อหดเส้นเอ็น"
- เทพอาชา ฮั่งป้อกู่ (Han Baoju) มีวิชา "แส้มังกรทอง" และ "ขี่ม้าขั้น เมพ"
- คนตัดฟืนเขาทักษิณ น่ำฮียิ้น (Nan Xiren) มีวิชา "ผ่ามือเบิกขุนเขา" และ "เพลงดาบทักษิณ"
- อรหันต์ยิ้ม เตียวอาแซ (Zhang Ahsheng) มีวิชา "ฝ่ามือเคลื่อนย้ายขุนเขา"
- ผู้ซ่อนกายกลางตลาด ช้วนกิมฮวด (Quan Jinfa) มีวิชา "คันชั่งพิฆาต"
- นักกระบี่หญิงแคว้นอ้วก ฮั่งเซียวเอี้ยง (Han Xiaoying) มีวิชา "กระบี่แคว้นอ้วก"

..คนเหล่านี้เป็นอาจารย์ของ ก๊วยเจ๋งในช่วงแรกๆของเรื่อง..เจ็ดประหลาดแห่งกังหนำได้รับคำท้าประลองกับนักพรตคูชู่กีแห่งสำนักช้วนจินก่า โดยเจ็ดประหลาดแห่งกังหนำจะต้องตามหาบุตรของก๊วยเซาเทียน(ก๊วยเจ๋ง) ส่วนคูชู่กีต้องตามหาบุตรของเอี้ยทิซิม(เอี้ยคัง) และฝึกฝนพวกเขาและนัดหมายให้เด็ก 2 คนประลองกันในอีก 18 ปีข้างหน้า

ที่ก๊วยเจ๋งได้รับมากที่สุดคือคุณธรรม เพราะอาจารย์ทั้งเจ็ดไม่ได้สอนแต่วิทยายุทธ์ หากแต่สอนความเป็นคนด้วย ต่างกับคูชู่กีที่พร่ำสอนแต่วรยุทธ์ให้เอี้ยคัง ซึ่งแม้ว่าตอนแรกเอี้ยคังจะเก่งกว่าก๊วยเจ๋ง ก็ต้องทำให้ทุกผิดหวังกับพฤติกรรมที่ต่ำช้า

ฉะนั้น ก๊วยเจ๋งจึงค่อนข้างจะนับถือเจ็ดประหลาดกังหนำมากกว่าอาจารย์หรือผู้อาวุโสคนอื่นๆ(น่าจะมากกว่าพ่อตาซึ่งก็คือภูติบูรพา อึ้งเอี๊ยะซือ ด้วยซ้ำ)

..ว่าด้วยเรื่องหนังจีน เพี้ยนๆ


..ว่าด้วยเรื่องหนังจีน เพี้ยนๆ

"ช้าก่อนจอมยุทธ์ทั้งหลาย.."


..นี่เป็นฉากจาก ดาบมังกรหยก ปี 1986 ที่พี่ โทนี่ เหลียง เราเล่นเป็น เตียบ่อกี้.. จะเห็นว่าไหล่ซ้ายของ มินมิน โดนกระบี่ฟันบาดเจ็บ แถมแขนเสื้อขาดอีก..

..พอตัดมาฉากต่อมา  บร๊ะ ด้วยวิทยายุทธ ของมองโกล!! หรือว่าด้วย วิชาเคลื่อนย้ายจักรยาน เอ๊ย จักรวาลของ ประมุขเตีย ทำให้ บาดแผลของ มินมิน เคลื่อนไปที่แขนขวา!!

............................

..ต่อมา เรื่องเดียวกัน แต่ ต่างวาระ ข้ามมาปี 2003 ซูโหย่วเผิง เล่นเป็นบ่อกี้ เกาหยวนหยวน เล่นเป็น จิวจี้เยี้ยก..ฉากนี้เป็นการรวมตัวกันของ 6 สำนักใหญ่ เพื่อมาจัดการ พรรคเม้งก่า..แม่ชีมิ๊กจ้อ สั่งให้ จี้เยียกฆ่า บ่อกี้ด้วย กระบี่อิงฟ้า..นางเลยจัดการแทงจึ้กเข้าไหล่ซ้ายพระเอกของเรา..

..แต่ว่า! ด้วยวิชาเคลื่อนย้ายจักรวาลอีกแล้ว!! แทงซ้าย ดันเจ็บขวา

............................

..ต่อกันด้วยมังกรหยกภาคก๊วยเจ๋งปี 1983 เป็นฉากที่ อัังชิดกงเข้าไปในครัวหลวง และพยายามหนีออกมา โดยที่จะหยิบฉวยไก่ไปด้วยหนึ่งตัว (ของเซ่นไหว้)

..ตัดมานิดเดียวเป็นตอนที่ เนี้ยจื้ออง,ซัวทงเทียน และ โฮ้วทงไฮ้ เข้ามา แต่ของเซ่นหายไปเกือบหมดเลยธูปก็เอาไปรึนี่ ประมุขอั้ง!ท่านนิยมชมชอบการกินเกินไปแล้ว

..........................

..ยังๆมีอีก มังกรหยกภาคแรก 1983 ตอน ก๊วยเจ๋ง, จิงแปะทง และ อั้งชิดกง อยู่ในโรงเตี๊ยม หารือเกี่ยวกับการตายของ 5 ใน 7 ประหลาดกังหนำ (สไตล์)..จะเห็นว่าบนกำแพงโรงเตี๊ยม มีรูปภาพของนกกระจอกอยู่

..ถัดมา ในบ้านของ มกเนี่ยมชื้อ ดันมีภาพเขียนเหมือนกันแขวนอยู่บนกำแพง..ก๊วยเจ๋ง!เจ้าขโมยมันมาจากโรงเตี๊ยมใช่รึไม่..แต่เอ๊ะ บางทีจิตรกรที่วาด อาจวาดเหมือนกันหลายภาพก็เป็นได้ มกโกวเนี่ย ก็นิยมในงานวาดแบบนี้เช่นกันเลยซื้อมาจากตลาด

.........................

..จัดกันอีกซักอัน มังกรยหยกภาคสองบ้าง จอมยุทธ์อินทรีย์ของพี่ เอี้ยก้วย ปี 1983 เป็นฉากที่ คิ้วโชยเซียะเข้ามาทำลายงานแต่งของ กงซุนจื้อ..กงซุนจื้อเลยจัดการฟาดฝ่ามือใส่ไหล่ของ คิ้วโชยเซียะ กระเด็นชนฉากด้านหลัง..แล้วนางก็ถอดหน้ากากออก ตอนนี้ ไม่มีบาดแผลอะไร

 ..อย่ากระนั้นเลย ฝ่ามือนั้นรุนแรงนัก เมื่อกล้องเปลี่ยนมุมเท่านั้น กลับมาอีกที เลือดโชกหน้าไปแล้ว..หัวด้านหลังกระแทกฝาแต่หัวดันแตกด้านหน้า..ฝ่ามือนี้ร้ายนัก!

..ยังไม่จบ พอนางกลับมานั่งที่เก้าอี้แล้ว เลือดลมนางกลับไหลกลับแตกซ่านมาตรงจมูกซะนี่! นี่คงเป็นวิชาโลหิตเปลี่ยนทิศแน่นอน

...............................

Credit: Vindikattor from SPCNET




วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

..ว่าด้วยเรื่อง ชื่อ แซ่ของ บ่อกี้


..ว่าด้วยเรื่อง ชื่อ แซ่ของ บ่อกี้



แซ่ หรือ นามสกุลของชาวจีน เกิดขึ้นเนื่องจากประชากรที่เพิ่มมากขึ้นของชนชาติจีน จนมีการเรียกซ้ำกันไปมา กอปรกับ ในสมัยนั้น (ยุคจ้านกว๋อ หรือ เลียดก๊ก) แต่ละก๊กเหล่าต่างๆต้องการเสริมกำลังพลเพื่อสร้างรากฐานแห่งอำนาจให้กับตนเอง จึงตั้ง ชื่อ "แซ่" ขึ้น แล้วรวมเหล่าผู้คนให้มาอยู่ในแซ่เดียวกัน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกว่าการเป็น นายและบ่าว

จากนั้นก็เริ่มมีการใช้แซ่กันอย่างแพร่หลายขึ้น จนกระทั่งในรัชสมัย “สมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเกาจู หรือ หลิวปัง” (พ.ศ.337 - 348) ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ฮั่น ได้โปรดเกล้าฯ ให้ประชาชนทุกคนมีแซ่ตระกูลประจำตัว ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ ขุนนาง พ่อค้า ไปจนถึงไพร่สามัญชน โดยให้แซ่ถ่ายทอดจากฝ่ายบิดาลงมาสู่บุตร ตั้งแต่นั้นประเทศจีนจึงมีการใช้แซ่ขึ้นอย่างเป็นทางการ และสืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบัน

คราวนี้มาดูสาระเกี่ยวกับ "แซ่" ของพระเอกมังกรหยกภาค 3 (ดาบมังกรหยก) กัน.."เตียบ่อกี้ หรือ จางอู๋จี้" นั่นเองทราบๆกันดีว่า บ่อกี้ นั้นเป็น บุตรคนเดียวของ เตียซุ่ยชัว โดย เตียซุ่ยชัว เอง เป็นศิษย์ ลำดับที่ 5 ของ ปรมาจารย์ไท้เก็ก แห่ง สำนักบู๊ตึ้ง "เตียซำฮง" และเป็นหลานของ "อินทรีย์คิ้วขาว - ฮึงเทียเจี่ย" หนึ่งในผู้คุมกฏ ของ พรรคเม้งก่า และ ยังเป็นลูกบุญธรรมของ พญาราชสีย์ขนทอง "เจี่ยซุ่น"..

..โดย แซ่ ของ "เตียบ่อกี้" ก็คือ "จาง " (จีนกลาง) หรือ "เตีย/เตียว "(แต้จิ๋ว)

แซ่ "จาง" เป็น 1 ใน 5 แซ่ใหญ่ของจีน เก็บอยู่ใน "ทำเนียบร้อยแซ่" กระจายอยู่กว้างขวางอย่างยิ่ง มีที่มา 4 ทาง

1. บรรพชนถือกำเนิดมาแต่สมัยดึกดำบรรพ์ ลูกชายคนที่ 5 ของส้าวเฮา หัวหน้าเผ่าอี๋ตะวันออกชื่อฮุย มีความดีความชอบในการประดิษฐ์เกาทัณฑ์ พระเจ้าฮว๋างตี้จึงได้พระราชทานแซ่ "จาง" ให้ (จาง มีความหมายว่า เหนี่ยวเกาทัณฑ์)

2. มาจากสมัยชุนชิว (770-476 ปีก่อน ค.ศ.) แคว้นจิ้นมีเสนาบดีชื่อ เจี่ยจาง ได้รับแต่งตั้งให้เป็นจางโหว (เจ้าพระยาจาง) ลูกหลานจึงใช้บรรดาศักดิ์ของเขาเป็นแซ่ "จาง"สืบมา

3. มาจากสมัยสามก๊ก (ค.ศ.220-265) จกก๊กให้แซ่แก่ ลงอิ้วนา หัวหน้าเผ่าชนเผ่าหนึ่งในหยุนหนานว่า "จาง"

4. มาจากสมัยสามก๊ก (ค.ศ.220-265) เตียวเลี้ยวเดิมมีแซ่ "เนี่ย" แต่เปลี่ยนมาใช้แซ่ "จาง" ในภายหลัง

เตียวเลี้ยว ภาพจาก ROTK12

มีบุคคลแซ่ "จาง" ซึ่งมีชื่อเสียงอยู่ในประวัติศาสตร์ เช่น

จางเหลียง (張良)ขุนนางผู้ใหญ่ต้นราชวงศ์ฮั่นตะวันตก มีสติปัญญาเฉียบแหลม เต็มไปด้วยกลอุบาย ช่วยเหลือหลิวปังจนได้ครองราชสมบัติเป็นพระเจ้าฮั่นเกาจู และได้รับแต่งตั้งให้เป็นหลิวโหว (เจ้าพระยาหลิว) หลิวปังเคยชมเชยเขาว่า "วางแผนอยู่ในกระโจม รบชนะไกลพันลี้" 
“ถ้าได้คนนี้มาแล้วก็เหมือนพระเจ้าฮั่นโกโจได้จางเหลียงผู้มีปัญญามาไว้ เป็นที่ปรึกษา” เป็นคำรับประกันจากชีซี ที่กล่าวยกย่องขงเบ้ง ก่อนที่ชีซีจะไปอยู่กับโจโฉ
จางเหลียง หรือ เตียวเหลียง ภาพจาก ROTK12

..ข้อมูลที่มา: สามก๊กวิทยา,PANTIP and Google