วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556

..ว่าด้วยเรื่อง 4ตำลึงปาดพันชั่ง

..ว่าด้วยเรื่อง 4ตำลึงปาดพันชั่ง


สี่ตำลึงแดง หนึ่งตำลึงเขียว ป๊าดมันช่าง!

..แน่นอนว่าเราๆท่านที่ติดตามอ่านหรือดูหนังจีน(นิยาย)กำลังภายในหลายเรื่อง จะได้พบพานกับ ท่าต่อสู้หลากหลายท่า ไม่ว่าจะเป็น ไม้ตายของปังจู้ พรรคกระยาจก อย่าง "สิบแปดฝ่ามือพิชิตมังกร" (降龍十八掌 "เจี้ยงหลงฉือบ่ะจ๋าง") , "ดัชนีหกชีพจร" (六脈神剑 "ลิ่วไม่เฉินเจี้ยน") วิชาสุดยอดของ ตระกูล ต้วน แห่งไต้ลี้. หรือ แม้แต่ "กรงเล็บกระดูกขาวเก้าพระกาฬ" (九阴白骨爪 "จิ่วอิมไบ๋กู๋ฉัว") ที่ ศพเหล็กและศพทองแดง ใช้ โดยศึกษาจาก คัมภีร์เก้าอิมจินเก็ง (九阴真经 "จิ่วอิมเจิ๊นจิง")

ดัชนีหกชีพจรของ ตวนอื้อ หรือ ต้วนอี้

18 ฝ่ามือพิชิตมังกร ของ เคียวฮง หรือ เฉียวฟง

กรงเล็บกระดูกขาวเก้าพระกาฬ ของ บ๊วยเถี่ยวฮวง


..นอกจากนี้ยังมีเคล็ดวิชาอีกอย่างนึง ที่จะพบเห็นกันอย่างมาก โดยเฉพาะในนิยายของกิมย้ง ที่มีช่วงเวลา ในราชวงศ์หมิง หรือหลังจากนั้น เคล็ดวิชานี้ก็คือ "สี่ตำลึงปาดพันชั่ง"

..ทำไมถึงต้องเป็นช่วงราชวงศ์หมิงถึงจะได้เห็นวิชานี้?? .. นั่นเป็นเพราะว่ามีหลักการของไท้เก็ก ซึ่งคิดค้นโดยปรมาจารย์ เตียซำฮง(張三丰 "จางซานฟง") แห่ง สำนักบู๊ตึง หรือ อู่ตัง (武當) อันโด่งดังนั่นเอง โดยสำนักบู๊ตึงอยู่ในช่วง ราชวงศ์ หมิงไปแล้วนั่นเอง

หมัดไท้เก๊ก แห่ง บู๊ตึ้ง

..เคล็ด สี่ตำลึงปาดพันชั่ง(四两拨千斤 "ซื่อเหลี่ยงปัวเชียนจิน") ค่อนข้างจะเป็นวิชาที่พื้นฐานคล้ายๆกับว่าใครๆก็ใช้ได้ รูปแบบก็คือปัดวิชาต่อสู้ต่างๆของ ฝ่ายตรงข้างให้พ้นไปจากตัวผู้ใช้

..ในเรื่อง "จิ้งจอกอหังการ" เตี่ยปั่วซัว ได้กล่าวเกี่ยวกับเคล็ดไท้เก็ก ให้ ตั้งอู้ฟังว่า "วงจรรวมยากเข้าใจปรุโปร่ง สอดคล้องกลมกลืนไม่สิ้นสุด  ล่อศัตรูเข้าสู่วงจรรวม สี่ตำลึงสามารถปาดพันชั่ง เคลื่อนไหวมือเก้าตั้งตรงขวาง วงจรในฝ่ามือไม่เคยผิดพลาด ต้องการทราบความลับของวงจร ใช้ถูกต้องเป็นสัมฤทธิผล" (จิ้งจอกอหังการ เล่ม 1 หน้า 163)...อีกช่วงหนึ่งคือ

"เราใช้พลังรูปวงจร ผลักดันศัตรูเข้าสู่วงจรของเรา เมื่อถึงเวลาคิดบังคับไปซ้ายก็ไปซ้าย บังคับไปขวาก็ไปขวา จากนั้นใช้พลังแผ่วเบา สี่ตำลึงปาดกำลังพันชั่งของศัตรู ควรใช้พลังตั้งทำลายศัตรูทอดขวาง เครื่องตัดสินผลแพ้ชนะของหมัดไท้เก็กอยู่ที่ค้นหาจุดเริ่มเล็งจู่โจมใส่จุดอันถูกต้อง" (จิ้งจอกอหังการ เล่ม 1 หน้า 164)



เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย:
2  เมล็ดข้าว  =  1 กล่อม
2  กล่อม  =  1 กล่ำ
2 กล่ำ  = 1 ไพ
4 ไพ  = 1 เฟื้อง
2 เฟื้อง  =  1 สลึง
4 สลึง =  1 บาท
4 บาท  =  1 ตำลึง
20  ตำลึง  =  1 ชั่ง
100  ชั่ง =  1 หาบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น