![]() |
สี่ตำลึงแดง หนึ่งตำลึงเขียว ป๊าดมันช่าง! |
..แน่นอนว่าเราๆท่านที่ติดตามอ่านหรือดูหนังจีน(นิยาย)กำลังภายในหลายเรื่อง จะได้พบพานกับ ท่าต่อสู้หลากหลายท่า ไม่ว่าจะเป็น ไม้ตายของปังจู้ พรรคกระยาจก อย่าง "สิบแปดฝ่ามือพิชิตมังกร" (降龍十八掌 "เจี้ยงหลงฉือบ่ะจ๋าง") , "ดัชนีหกชีพจร" (六脈神剑 "ลิ่วไม่เฉินเจี้ยน") วิชาสุดยอดของ ตระกูล ต้วน แห่งไต้ลี้. หรือ แม้แต่ "กรงเล็บกระดูกขาวเก้าพระกาฬ" (九阴白骨爪 "จิ่วอิมไบ๋กู๋ฉัว") ที่ ศพเหล็กและศพทองแดง ใช้ โดยศึกษาจาก คัมภีร์เก้าอิมจินเก็ง (九阴真经 "จิ่วอิมเจิ๊นจิง")
![]() |
ดัชนีหกชีพจรของ ตวนอื้อ หรือ ต้วนอี้ |
![]() |
18 ฝ่ามือพิชิตมังกร ของ เคียวฮง หรือ เฉียวฟง |
![]() |
กรงเล็บกระดูกขาวเก้าพระกาฬ ของ บ๊วยเถี่ยวฮวง |
..นอกจากนี้ยังมีเคล็ดวิชาอีกอย่างนึง ที่จะพบเห็นกันอย่างมาก โดยเฉพาะในนิยายของกิมย้ง ที่มีช่วงเวลา ในราชวงศ์หมิง หรือหลังจากนั้น เคล็ดวิชานี้ก็คือ "สี่ตำลึงปาดพันชั่ง"
..ทำไมถึงต้องเป็นช่วงราชวงศ์หมิงถึงจะได้เห็นวิชานี้?? .. นั่นเป็นเพราะว่ามีหลักการของไท้เก็ก ซึ่งคิดค้นโดยปรมาจารย์ เตียซำฮง(張三丰 "จางซานฟง") แห่ง สำนักบู๊ตึง หรือ อู่ตัง (武當) อันโด่งดังนั่นเอง โดยสำนักบู๊ตึงอยู่ในช่วง ราชวงศ์ หมิงไปแล้วนั่นเอง
![]() |
หมัดไท้เก๊ก แห่ง บู๊ตึ้ง |
..เคล็ด สี่ตำลึงปาดพันชั่ง(四两拨千斤 "ซื่อเหลี่ยงปัวเชียนจิน") ค่อนข้างจะเป็นวิชาที่พื้นฐานคล้ายๆกับว่าใครๆก็ใช้ได้ รูปแบบก็คือปัดวิชาต่อสู้ต่างๆของ ฝ่ายตรงข้างให้พ้นไปจากตัวผู้ใช้
..ในเรื่อง "จิ้งจอกอหังการ" เตี่ยปั่วซัว ได้กล่าวเกี่ยวกับเคล็ดไท้เก็ก ให้ ตั้งอู้ฟังว่า "วงจรรวมยากเข้าใจปรุโปร่ง สอดคล้องกลมกลืนไม่สิ้นสุด ล่อศัตรูเข้าสู่วงจรรวม สี่ตำลึงสามารถปาดพันชั่ง เคลื่อนไหวมือเก้าตั้งตรงขวาง วงจรในฝ่ามือไม่เคยผิดพลาด ต้องการทราบความลับของวงจร ใช้ถูกต้องเป็นสัมฤทธิผล" (จิ้งจอกอหังการ เล่ม 1 หน้า 163)...อีกช่วงหนึ่งคือ
"เราใช้พลังรูปวงจร ผลักดันศัตรูเข้าสู่วงจรของเรา เมื่อถึงเวลาคิดบังคับไปซ้ายก็ไปซ้าย บังคับไปขวาก็ไปขวา จากนั้นใช้พลังแผ่วเบา สี่ตำลึงปาดกำลังพันชั่งของศัตรู ควรใช้พลังตั้งทำลายศัตรูทอดขวาง เครื่องตัดสินผลแพ้ชนะของหมัดไท้เก็กอยู่ที่ค้นหาจุดเริ่มเล็งจู่โจมใส่จุดอันถูกต้อง" (จิ้งจอกอหังการ เล่ม 1 หน้า 164)
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย:
2 เมล็ดข้าว = 1 กล่อม
2 กล่อม = 1 กล่ำ
2 กล่ำ = 1 ไพ
4 ไพ = 1 เฟื้อง
2 เฟื้อง = 1 สลึง
4 สลึง = 1 บาท
4 บาท = 1 ตำลึง
20 ตำลึง = 1 ชั่ง
100 ชั่ง = 1 หาบ