วันพุธที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557

..ว่าด้วยเรื่อง "จอมยุทธ์โยกมังกร" เปิด เพจแล้ว

..ว่าด้วยเรื่อง "จอมยุทธ์โยกมังกร" เปิด เพจแล้ว


..ตามไปกด "Like" กันได้น่ะจอมยุทธ์ทั้งหลาย เพจนี้ไม่ ยึดติด จำนวน "Like" เพราะได้ไปก็กินไม่ได้ อย่างที่บอกทุกท่านว่า เพจ สร้างขึ้นเพื่อ ตอบสนองความต้องการทาง เพจ และจินตนาการหลังได้อ่านนิยายกำลังภายใน ต่างๆเท่านั้นเอง


ขอบพระคุณในน้ำใจของทุกท่าน 
       ..แอดมิน จยม..

วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557

..ว่าด้วยเรื่อง "ชอเฮียงส่วย"

..ว่าด้วยเรื่อง "ชอเฮียงส่วย"

ชอลิ้วเฮียง ขุนโจรกระจายหอม มักสวมเสื้อผ้าชุดสีขาว

ชอลิ้วเฮียง(楚留香; ฉูหลิวเซี่ยง) หรือ ชอเฮียงส่วย (ขุนโจรหอมแซ่ชอ) เป็นอีกหนึ่งตัวละครอันโดดเด่นในนวนิยายกำลังภายใน อันมี โกวเล้งเป็นผู้ประพันธ์..ชอลิ้วเฮียง ขุนโจรกระจายหอม นั่นเป็นหนึ่งในการบรรยายของโกวเล้ง ว่า หลังจากที่ ชอลิ้วเฮียงขโมยสิ่งของ เค้าจะทิ้งกลิ่นหอมเอาไว้ (คาดว่าเป็นกลิ่นดอกอุกกิมเฮียง..หรือดอกทิวลิป) ชือเรื่องภาษาจีน(กลาง) คือ "楚留香系列; ฉูหลิวเซี่ยงซิเลี่ย)

พฤติการของ ชอลิ้วเฮียง ก็เหมือนๆกับตัวละครเอกของ โกวเล้งหลายๆคน ซึ่งเป็นแบบฉบับไปแล้วนั่นก็คือ เก่งเทพตั้งแต่ต้น ไม่ต้องไปฝึกวิชา หรือ ตกจากเหวพบคัมภีร์ ปาฏิหารย์อะไรทั้งสิ้น

..และจุดเด่นของ ชอเฮียงส่วย นั่นก็คือ ไม่เคยฆ่าใครเลยในเรื่องที่ปรากฎ ออกจะเป็นคนใจอ่อนซะด้วยซ้ำไป โดยเฉพาะกับสตรี!

เจิ้นเส้าชิว 鄭少秋 นักแสดงฮ่องกงที่ผู้ชมติดตามากที่สุดกับบท ชอเฮียงส่วย

..เรื่องของสตรี และสุรา ย่อมเป็นปกติสำหรับ นิยายของ โกวเล้ง, ใน ชอลิ้วเฮียง หรือ จอมโจรจอมใจ (ตามสำนวนการแปลของ ว.ณ.เมืองลุง) ย่อมมีสตรีข้างกายเช่นกัน แต่ไม่ใช่เพียงหนึ่งนาง กลับมีทั้งสิ้นหลักๆ สามคนด้วยกัน นั่นก็คือ โซวย่งย้ง ผู้ชำนาญการแปลงโฉม เพราะเป็นน้องสาวของ "ทารกวิเศษ" เซียวซิ้งท้ง คนที่สองคือ ลี้อั้งซิ่ว ผู้ซึ่งมีความรอบรู้ในเรื่องราวของยุทธจักร คนสุดท้ายคือ ซ่งเตี้ยมยี้ ผู้ชอบกล่าวเป็นภาษาสำเนียงกวางตุ้ง (ทำให้คนอื่นฟังไม่ค่อยเข้าใจ) และถนัดในการทำอาหาร

..เรื่องของสุรา ย่อมมีปีศาจสุรา มีตัวชูโรง และยังเป็นเพื่อนซี้ สนิทของ ชอลิ้วเฮียงอีกด้วย นั่นคือ เจ้าแมวขี้เมา "โอ้วทิฮวย" ไม่ว่าอย่างไรสิ่งที่จะสามารถราดรด "โอ้วไต้เฮียบ" ได้ ก็มีแต่ สุราเท่านั้น

..ว่าด้วยเรื่อง วรยุทธ์ นั้น ไม่ได้มีท่าไม้ตายอะไรมากมาย ไม่ได้มี เพลงกระบี่ อันไหวพริ้ว หรือ ท่าดาบ อันเกรี้ยวกราดแต่อย่างใด หรือ อาวุธลับอย่างมีดบินเฉกเช่น "เซียวลี้ปวยตอ หรือ ลี้ชิ้มฮัว" แต่ประการใด.. ที่เด่นๆก็คือ วิชาทางน้ำของชอลิ้วเฮียงเอง ที่สามารถสงบ ประมุขวังน้ำทิพย์ ได้ แม้แต่ หลวงจีน บ้อฮวย ยังเคยกล่าวว่า "ไม่มีครั้งใดที่ข้าพเจ้าจะไม่พบ ชอเฮียงส่วย โดยไม่เปียกโชกได้เลย" นอกจากวิชาทางน้ำแล้ว วิชาตัวเบายังเป็นเลิศอันดับหนึ่งแห่งแผ่นดินอีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นเอกทั้ง วายุ และ วารี เลยทีเดียว

ภาพโปสเตอร์ ซี่รี่ย์ "บุรุษสี่คิ้ว เล็กเซี่ยวหงส์ 2014 " เวอร์ชัน 3D นำแสดงโดย หลินฟง 林峯

..บางคนอาจจะเคยดูหนัง ชอลิ้วเฮียง ตอน ถล่มวังค้างคาว (หรือ ศึกวังค้างคาว) เวอร์ชัน เหมียวเฉียวเหว่ย (苗侨伟) แสดง อาจจะคิดว่า วิชาประจำตัวของชอลิ้วเฮียงก็มี นั่นก็คือ วิชาดีดนิ้วเทพยดา หรือ ดรรชนีปาฏิหาริย์ แต่จริงๆแล้ว ในตัวเอกของนิยาย โกวเล้ง ผู้ที่มีวิชาดรรชนี ระดับเทพๆก็น่าจะเป็น เล็กเซี่ยวหงส์ ที่มีวิชา ดรรชนีจิตสัมพันธ์ หรือ ดรรชนีสัมพันธ์จิตใจ นั่นเอง

..................................................................

เกร็ดเล็กน้อย


พัดจีนสัญลักษณ์ของ ชอลิ้วเฮียง?

..จะสังเกตว่าในละคร จะปรากฎว่า ชอลิ้วเฮียงมักจะถือพัดจีบ อยู่ในมือเป็นประจำ ทั้งๆที่ ในบทประพันธ์นิยายไม่ได้กล่าวไว้ว่า ตัวชอลิ้วเฮียงต้องพกพัดตลอดเวลา

..นั่นเป็นเพราะว่า ผู้แซ่ชอ นั่นได้ขึ้นชื่อว่าเป็นจอมโจรเจ้าสำราญ คำว่า เจ้าสำราญในยุคนั้นมักเป็น กงจื้อรุ่มรวย ก็มักถือพัดไว้ในมือ 

ซ้ายบน: ตี้หลุง (狄龍) ขวาบน: เจิ้นเส้าชิว (鄭少秋)
ซ้ายล่าง: จูเสี้ยวเทียน (朱孝天) ขวาล่าง: เริ่น เสียนฉี (任賢齊)

..เล่ากันว่า สามพันกว่าปีที่แล้ว สมัยนั้นจีนมีพัดแล้ว เป็นพัดที่สานด้วยใบไผ่หรือต้นหางแมว แต่ไม่ได้ใช้สำหรับพัดลมหรือพัดให้เกิดความเย็น หากเป็นเครื่องประดับชนิดหนึ่ง หนังสือโบราณบันทึกไว้ว่า พัดมีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์อิน สานด้วยขนไก่ป่าชนิดหนึ่ง เป็นเครื่องประดับของกษัตริย์ มีประโยชน์ช่วยกันแดดและกันฝุ่น ในสมัยราชวงศ์โจว หลังรถที่กษัตริย์และพระราชินีทรงใช้นั้น จะมีพัดด้วย เพื่อกันฝุ่นและทราย เวลาเสด็จหรือออกเดินทาง ก็จะมีพัดขนาดใหญ่ตามหลัง เพื่อแสดงถึงความองอาจ ยิ่งใหญ่ และมีอำนาจ ต่อจากนั้น จากราชวงศ์จนถึงขุนนางชั้นสูง ได้ใช้พัดเป็นเครื่องบ่งบอกสถานะ

วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

..ว่าด้วยเรื่อง ลี้ท้ำฮวย

..ว่าด้วยเรื่อง ลี้ท้ำฮวย
ลี้ชิ้มฮัว (ลี้คิมฮวง) แสดงโดย ตี้หลุง ปี 1981 ใน Return of The Sentimental Swordman

..ว่ากันว่า มีดบินที่ไม่เคยพลาดเป้า คือมีดบินของ ลี้น้อย.. ลี้น้อยคือใคร ท่านที่ไม่เคยอ่านหรือดู  มือกระบี่มากรัก กระบี่ไร้น้ำใจ ย่อมไม่เข้าใจ บางท่านอาจคุ้นเคยกับ ชื่อเรื่อง ฤทธิ์มีดสั้น หรือ เซียวลี้ปวยตอ มีดบินไม่พลาดเป้า มากกว่า

..แน่นอนว่าตัวเอกในเรื่องนี้ ย่อมเป็น ลี้น้อย..ลี้ชิ้มฮัว (ลี้คิมฮวง) นั่นเอง

..ในเนื้อเรื่อง ข้าพเจ้าจะไม่เอ่ยถึงมากนักเพราะอยากให้ไปหาดูหรือ อ่านกันเอาเอง เอาเป็นว่าเราว่ารู้จักเกล็ดจากเรื่อง มีดบินไม่พลาดเป้า (ยึดเอาเวอร์ชันแปลของท่าน น.นพรัตน์) กันดีกว่า

เซี่ยวลี้ปวยตอ "มีดบินของลี้น้อย"

..พูดถึงอาวุธที่ ลี้ชิ้มฮัว ใช้ นั่นก็คือ มีดน้อย จึงปรากฎคำ "小李飛刀" "เซี่ยวลี้ปวยตอ" (แต้จิ๋ว) หรือ "เซี่ยวลี้เฟยเตา" (จีนกลาง) ซึ่งแปลได้ว่า "มีดบินของลี้น้อย" โดยจากการจัดอันดับในตำราวิจารณ์อาวุธของ แป๊ะเฮี่ยวเซ็ง "มีดบินของลี้น้อย" ถูกวางเป็นมือวางอันดับ 3 ใน 10 อย่างที่มีการพูดถึงในเรื่อง..แน่นอนในยุทธจักรกล่าวว่า "มีดเป็นมีดธรรมดา แต่ผู้ที่เป็นเจ้าของมีดนั่นเล่า" นี่ย่อมเป็นการยกย่องว่า ลี้ชิ้มฮัว นั่นเอง
ภาพถ่ายผู้ที่สอบเข้าแข่งขันและได้ตำแหน่งจอหงวน ในปลายราชวงศ์ชิง

..นอกจากฝีมือ ฝีข้อของ ลี้น้อยจะเยี่ยมยุทธแล้ว สมองของ ลี้ชิ้มฮัว ยังไม่เป็น สาม รองใครอีกด้วย?..ทำไมต้องเป็นสาม..เนื่องจากในเนื้อเรื่องได้กล่าวไว้ว่า.."คนผู้นี้เป็นกงจื้อตระกูลใหญ่ บรรพบุรุษรับราชการมาหลายชั่วอายุคน กล่าวได้ว่ามีเกียรติประวัติอันเกริกไกรในสามชั่วอายุคน กลับมีคนสอบได้บัณฑิตเจ็ดครั้ง น่าเสียดายที่ไม่อาจไต่เต้าได้ตำแหน่งจอหงวน เมื่อถึงรุ่นของ ลี้เล่าท้ำฮวย (ท้ำฮวยผู้สูงอายุแซ่ลี้) เสียวเอี้ย (นายน้อย) ทั้งสองยิ่งชาญฉลาดปราดเปรื่อง เปล่งประกายปัญญา ดังนั้นท่านผู้เฒ่าฝากความหวังอยู่ที่กงจื้อทั้งสองนี้..แต่แล้ว ตั่วลี้กงจื้อ(คุณชายคนโตแซ่ลี้) พอสอบเข้ายังคงได้ตำแหน่ง ท้ำฮวย..

.."..พอถึง ครา เซี่ยวลี้กงจื้อ (คุณชายเล็กแซ่ลี้) ซึ่งหมายถึง ลี้ชิ้มฮัว ก็ได้ตำแหน่ง ท้ำฮวยอีก เช่นนี้ เมื่อพูดถึง "ลี้ท้ำฮวย" ก็หมายถึง "ลี้ชิ้มฮัว" นั่นเอง

..ส่วนที่ว่า ทำไมต้องสาม..จากเกร็ดความรู้ก็คือเรื่องเกี่ยวกับการสอบจอหงวน ได้กล่าวสั้นๆว่า

ในสมัยราชวงศ์หมิงและชิงแบ่งระดับการสอบออกเป็น 4 ขั้นกล่าวคือ

1.ระดับที่ต่ำสุดเรียกว่า “เยวี่ยนซื่อ”(院试)ถือเป็นการสอบคัดเลือกเพื่อคัดสรรข้าราชการเข้าปกครองในระดับอำเภอ หากผ่านการสอบดังกล่าวจะได้เลื่อนขั้นเป็นซิ่วไฉ (秀才)

2. ระดับถัดมาคือการสอบในระดับมณฑลเรียกว่า “เซียงซื่อ”(乡试)หากสอบผ่านขั้นนี้ก็จะได้เลื่อนเป็นจวี่เหยิน (举人)ทำให้มีสิทธิ์สอบในระดับที่สูงขึ้น

3. ระดับที่ 3 คือการสอบระดับ “ฮุ่ยซื่อ”(会试)ผู้ที่สอบผ่านจะได้เลื่อนเป็นก้งซื่อ(贡士)การสอบครั้งนี้จะมีขุนนางฝ่ายพิธีกรรมเป็นผู้คุมสอบ

4. ระดับสูงสุด คือการสอบหน้าพระที่นั่งหรือ “เตี้ยนซื่อ” (殿试)ผู้ที่สามารถสอบผ่านได้เลื่อนเป็นจิ้นซื่อ(进士)และผู้ที่สอบได้ที่ 1, 2 และ 3 จะได้ตำแหน่งจอหงวน(状元), ปั้งเหยี่ยน(榜眼)และทั่นฮวา (探花)ตามลำดับ 


ภาพวาด การสอบ "เตี้ยนซื่อ" หรือสอบระดับสูงสุด

การสอบครั้งหลังนี้สร้างความตื่นเต้นให้แก่ผู้เข้าสอบอย่างมาก เพราะกษัตริย์จะเป็นผู้ที่เข้ามาดูแลความเรียบร้อยในสนามสอบด้วยพระองค์เอง ความสำเร็จในการสอบมิได้เพียงแต่ลาภยศสรรเสริญที่หลั่งไหลเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย หากยังมีชื่อเสียงที่ขจรขจายไปทั่วราชอาณาจักร

..จะเห็นว่า ตำแหน่งที่ ตระกูลลี้ สอบได้ คือ ตำแหน่งอันดับสาม ทั่นฮวา หรือ ท้ำฮวย (探花)ซึ่งเป็นการสอบหน้าพระที่นั่ง หรือระดับสูงสุดแล้ว

...................................................

เกร็ดเล็กเกี่ยวพัน


..ใน มีดบินไม่พลาดเป้า เล่ม 2 เรียบเรียงโดย น.นพรัตน์ ได้กล่าวไว้ว่า...

"ได้ยินว่า..วีรบุรุษเมื่อครั้งกระโน้น "ซิมลั้ง" (ตัวเอกในเรื่องราชายุทธจักร..ไม่ต้องบอกว่าเทพแค่ไหน) เป็นสหายสนิทบิดา ของ ลี้ชิ้มฮัว..และก่อนที่ ซิมไต้เฮียบ (วีรบุรุษแซ่ซิม) จะถอนตัวเร้นกาย เคยมอบคัมภีร์สองเล่มให้ บิดาของลี้ชิ้มฮัวดูแล คัมภีร์สองเล่มนี้ได้จารึกเคล็ดวิชาทั้งหมดของซิมไต้เฮียบ ท่านเพียงฝึกคัมภีร์เล่มหนึ่ง วิชา เซี่ยวลี้ปวยตอ (มีดบินของลี้น้อย) ก็พิชิตโดยไร้คู่ต่อต้าน หากฝึกปรือทั้งสองเล่ม นับเป็นความสำเร็จระดับใด.."

..อันที่จริงนักอ่านย่อมทราบว่า ที่ได้กล่าวข้างต้นว่า พ่อของลี้ชิ้มฮัวได้รับคัมภีร์จาก ซิมลั้ง นั่นย่อมเป็นข่าวลือที่ ลิ้มเซียนยี้ ปล่อยออกมาเพื่อให้ชาวยุทธมาก่อกวน ลี้ชิ้มฮัว เพื่อแย่งคัมภีร์ที่ไม่มีอยู่จริงนั่นเอง เพราะ ลิ้มเซียนยี้ ไม่สามารถกุมหัวใจของ ลี้น้อยได้ จึงได้แต่ทำลายเขาไปนั่นเอง

..นอกจากนี้เอง ในเรื่อง "ราชายุทธจักร" เอง ซิมลั้งก็เคยกล่าวไว้ว่า ชั่วชีวิตของเค้าไม่เคยชมชอบ หรือ ฝึกวิชา อาวุธลับใดๆทั้งสิ้น..แล้วมีดบินย่อมถือเป็นหนึ่งในอาวุธลับด้วยเช่นกัน ดังนั้น ต่อให้ พ่อของลี้ชิ้มฮัว ได้รับคัมภีร์จริงก็ไม่มีวิชา มีดบิน เช่นกัน

..ส่วนคัมภีร์ที่ควรตกทอดมาถึง ลี้ชิ้มฮัว กลับเป็น ตำรา "ถนอมบุปผา" หรือ "เลี้ยงฮวยป้อก่ำ" ซึ่งเป็นวิชา นานาชนิดของ "เฮ้งเลี้ยงฮวย" ผู้เป็นศัตรูกับ ซิมลั้ง แต่ต่อมากลายเป็นสหายกัน ในตำรารวบรวม การแพร่พิษ การแปลงโฉม ปล่อยแมลงคุณไสย ตลอดจนวิชาสะกดจิต..แต่สุดท้าย ลี้ชิ้มฮัวได้ตำรานี้ไปหรือไม่...

วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556

..ว่าด้วยเรื่อง "ปีศาจสุรา"

..ว่าด้วยเรื่อง "ปีศาจสุรา"


ภาพวาดหลี่ไป๋ จิบเหล้า ชมจันทร์


.."ปีศาจสุรา" เป็นอีกหนึ่งฉายานอกจาก "มังกรโบราณ" ของ นักเขียนอัจฉริยะแห่งนิยายจีนกำลัง
ภายในผู้เคียงคู่มากับ "กิมย้ง"..นั่นคือฉายาของ "โกวเล้ง" หรือ กู่หลง

..โกวเล้งนับว่าเป็นนักเขียนที่ชมชอบการดื่มสุรามากท่านหนึ่ง จนกระทั่งในชั้นสุดท้ายของชีวิต
ต้องตกตาย ด้วยโรคตับแข็งเพราะการร่ำสุราอย่างหนัก ในวัย 48 ปีเท่านั้น

..ท่านจะเห็นว่าในนิยายเรื่องต่างๆของโกวเล้งนั้น ส่วนมากตัวเอกมักมีนิสัยชื่นชมชอบดื่มสุรา นั่น
เพราะเป็นนิสัยส่วนตัวของท่าน "มังกรโบราณ" เลยหยิบไปใส่ไว้ในตัวละคร

..แต่อย่างไรก็ตาม การที่ชอบร่ำสุรานั้นก็เพราะว่า โกวเล้ง นั่นเป็นคนมีสังคมและเพื่อนมากนั่นเอง
โกวเล้ง ชมชอบการคบหาสหายที่สุด อาศัยสุรานัดพบกับ สหาย สุรากับโกวเล้งเป็นสิ่งที่แยกกัน
ไม่ออก แม้นว่าในตอนเขียนต้นฉบับไม่แตะต้องสุรา แต่ผลงานต่างๆที่ออกมายังปรากฎกลิ่นสุรา
ขจรขจาย..


..โกวเล้งกล่าวไว้ว่า "ซึ่งความจริงข้าพเจ้ามิใช่รักในการดื่มสุราที่สุด ข้าพเจ้ามิได้ชมชอบรสชาติ
ของสุรา หากแต่เป็นเพื่อนในวงสุรา และ บรรยากาศในวงสุรา บรรยากาศเช่นนี้ มีแต่สุราจึงสร้าง
ขึ้นได้"..แน่นอนนอกจากเรื่องของสุราที่ท่านจะสามารถพบเจอในนิยายของโกวเล้งแล้ว เรื่อง
มิตรภาพระหว่างสหายก็มักจะพบเจอเช่นเดียวกัน


ข้อสังเกต

..เรามักจะเห็นว่าตัวเอกของ โกวเล้งส่วนมาก(ไม่ทุกคน)มักเก่งมาแต่ตอนต้น ไม่ต้องมาฝึกวิชาเก็บ
เลเวลนานเหมือนกับทางฝั่งของ กิมย้งหรืออาจจะฝึกเก่งแค่ตอนเดียว อย่างเช่น..ซิมลั้ง แห่งราชา
ยุทธจัก , ลี้ชิมฮัว(ลี้คิมฮวง) แห่ง มีดบินไม่พลาดเป้า, เจี่ยเฮียวฮง แห่ง ซาเสียวเอี้ย, เต็งพ้ง แห่ง อินทรีผงาดฟ้า, หรือแม้แต่ เซียวจับอิดนึ้ง แห่ง จับอิดนึ้ง เป็นต้น..นั่นเป็นเพราะว่าในวงสุราผู้คนส่วนมากเมื่อเริ่มเมามายมักทำตัวให้เสียงดังขึ้น พูดมากขึ้น เก่งมากขึ้น..เพราะฉะนั้นตัวละครในนิ
ยายของโกวเล้งมักเก่งกาจตั้งแต่เริ่มต้นด้วย เมื่อโกวเล้งพูดในวงสุราก็มักจะบอกว่า ตัวละครของ
เค้าก็เปรียบเสมือนตัวเค้าเอง

เกิดอะไรขึ้นเมื่อคนเมาเขียนหนังสือ
..คาดว่าในบางครั้ง โกวเล้ง อาจจะไม่สร่างเมาเมื่อเริ่มเขียน ต้นฉบับนิยายสักชิ้นนึง หรืออาจจะ
มึนๆเล็กน้อยทำให้มีอารมณ์ในการเขียนบ้าง ดังที่จะยกตัวอย่างใน จับอิดนึ้ง ดังนี้

เซียวจับอิดนึ้ง โดย Shaw Brothers 1978 นำแสดงโดย ตี้ หลุง
1. ในเรื่อง จับอิดนึ้ง เข้าใจว่ามีการมั่วเรื่องอายุของตัวละครเล็กน้อย กล่าวคือ ในหน้า 42 ของจับ
อิดนึ้ง..ตัวละครฮวยซี่เนี้ยได้ดื่มสุราใบไผ่เขียว ฉลองอายุครบ 34 ปี ในวันที่ 15 เดือน 7, ในตอน
เดียวกันหน้า 47 เซียวจับอิดนึ้งได้ กล่าวกับ ฮวยซี่เนี้ยว่า "เราเพิ่งอายุยี่สิบเจ็ดปี ต่อให้คิดแต่งงาน
ก็สมควรเสาะหาโกวเนี้ยน้อยอายุสิบห้าสิบหก.." ต่อจากนั้นในหน้า 56 ฮวยซี่เนี้ยได้กล่าวกับ 
เซียวจับอิดนึ้งว่า "..ปีศาจน้อยอย่าได้กล่าวประจบมารดา เราอายุมากกว่าท่านห้าปี สี่เดือนกับอีก
สามวัน!! ไม่พอเซียวจับอิดนึ้งยังกล่าวต่อว่า "ตั่วเจ้..ท่านจำได้แม่นยำยิ่ง" นั่นหมายความว่าต้องมี
คนมั่ว(เมา) เพราะ ถ้ายึดตามหน้า 42 ที่ฮวยซี่เนี้ยอายุ 34 ถ้าเซียวจับอิดนึ้งอ่อนกว่า 5 ปีนั่นหมาย
ความว่า เซียวจับอิดนึ้งอายุ 29 ปี แล้วประโยคหน้า 47 ที่บอกว่า "เราเพิ่งอายุ 27 มันคืออัลไล..

บน เซียวเล้งนึ้ง ล่าง เอี้ยก่วย

2. ยังมีการเขียนเชิงแซวตัวละครยอดนิยมของฝั่งกิมย้งอย่าง "เอี้ยก่วย" จอมยุทธอินทรี จากมังกร
หยกภาคสองอีกด้วย..ใครๆย่อมทราบว่า เอี้ยก่วยนั้น บุคลิคห้าวหาญหล่อเหล่า และยึดมั่นในความ
รักต่อ ท่านอา เซียวเล้งนึ้ง. ในเรื่อง จับอิดนึ้ง มีตัวละครตัวหนึ่งชื่อ ซีคงซู่ ฉายา "ต๊กปี่เอ็งอ้วง" หรือ 
"เจ้าอินทรีแขนเดียว"!! แหม่ใครๆก็ทราบว่า เอี้ยก่วย มีแขนเดียวเช่นกันหลังโดน ก๊วยพู้ ฟันขาด 
แถม ซีคงซู่ ยังมีฉายา เป็น เจ้าอินทรี อีกต่างหาก ลักษณะของ เจ้าอินทรีนับว่า ตรงข้ามกับ เอี้ยก่วย 
โดนสิ้นเชิง กล่าวคือ มีการบรรยายว่า เจ้าอินทรี สูงไม่เกินห้าเชียะ ศีรษะกลับโตใหญ่มหึมา ผมเผ้า
ยุ่งเหยิงเป็นกระเซิง คิ้วดกหนาทั้งคู่แทบเป็นเส้นเดียว ตาข้างซ้ายทอประกายวับวาว ตาข้าง
ขวากลับเป็นสีหมองหม่น คล้ายตาปลาตาย เคราขาวยุ่งเหยิงดั่งดงหญ้า แขนซ้ายที่หลงเหลือเพียง
ข้างเดียวกลับยาวจนน่ากลัว แถมยังบ้ากาม...สำรวจสภาพแล้วนึกตามนี่มันตัวอะไรกัน เทียบไม่ได้
เลยกับ เอี้ยก่วย สุดท้ายยังตายอย่างอนาจอีกต่างหาก


..ข้อสองคล้ายๆกับเป็นการหยอกเอินขำๆของ โกวเล้งที่มีต่อ เอี้ยก่วย ของกิมย้งนั่นเอง แต่เป็นการ
แซวห่างกัน กว่า 16 ปีเลยทีเดียว เพราะ มังกรหยกภาคสองพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ Hong 
Kong Commercial Daily ในปี 1957 ส่วน จับอิดนึ้งพิมพ์ครั้งแรกในปี 1973..น่าแปลกเลข 16 ปี นี้
เกี่ยวข้องกับ เอี้ยก่วย และ เซียวเล้งนึ้ง คือ เท่ากับ 16 ปีที่ ท่านอาเขียนไว้บนผาว่า อีก 16 ปีพบกัน
แล้วโดดหลงหน้าผาไป..++

วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556

..ว่าด้วยเรื่อง 4ตำลึงปาดพันชั่ง

..ว่าด้วยเรื่อง 4ตำลึงปาดพันชั่ง


สี่ตำลึงแดง หนึ่งตำลึงเขียว ป๊าดมันช่าง!

..แน่นอนว่าเราๆท่านที่ติดตามอ่านหรือดูหนังจีน(นิยาย)กำลังภายในหลายเรื่อง จะได้พบพานกับ ท่าต่อสู้หลากหลายท่า ไม่ว่าจะเป็น ไม้ตายของปังจู้ พรรคกระยาจก อย่าง "สิบแปดฝ่ามือพิชิตมังกร" (降龍十八掌 "เจี้ยงหลงฉือบ่ะจ๋าง") , "ดัชนีหกชีพจร" (六脈神剑 "ลิ่วไม่เฉินเจี้ยน") วิชาสุดยอดของ ตระกูล ต้วน แห่งไต้ลี้. หรือ แม้แต่ "กรงเล็บกระดูกขาวเก้าพระกาฬ" (九阴白骨爪 "จิ่วอิมไบ๋กู๋ฉัว") ที่ ศพเหล็กและศพทองแดง ใช้ โดยศึกษาจาก คัมภีร์เก้าอิมจินเก็ง (九阴真经 "จิ่วอิมเจิ๊นจิง")

ดัชนีหกชีพจรของ ตวนอื้อ หรือ ต้วนอี้

18 ฝ่ามือพิชิตมังกร ของ เคียวฮง หรือ เฉียวฟง

กรงเล็บกระดูกขาวเก้าพระกาฬ ของ บ๊วยเถี่ยวฮวง


..นอกจากนี้ยังมีเคล็ดวิชาอีกอย่างนึง ที่จะพบเห็นกันอย่างมาก โดยเฉพาะในนิยายของกิมย้ง ที่มีช่วงเวลา ในราชวงศ์หมิง หรือหลังจากนั้น เคล็ดวิชานี้ก็คือ "สี่ตำลึงปาดพันชั่ง"

..ทำไมถึงต้องเป็นช่วงราชวงศ์หมิงถึงจะได้เห็นวิชานี้?? .. นั่นเป็นเพราะว่ามีหลักการของไท้เก็ก ซึ่งคิดค้นโดยปรมาจารย์ เตียซำฮง(張三丰 "จางซานฟง") แห่ง สำนักบู๊ตึง หรือ อู่ตัง (武當) อันโด่งดังนั่นเอง โดยสำนักบู๊ตึงอยู่ในช่วง ราชวงศ์ หมิงไปแล้วนั่นเอง

หมัดไท้เก๊ก แห่ง บู๊ตึ้ง

..เคล็ด สี่ตำลึงปาดพันชั่ง(四两拨千斤 "ซื่อเหลี่ยงปัวเชียนจิน") ค่อนข้างจะเป็นวิชาที่พื้นฐานคล้ายๆกับว่าใครๆก็ใช้ได้ รูปแบบก็คือปัดวิชาต่อสู้ต่างๆของ ฝ่ายตรงข้างให้พ้นไปจากตัวผู้ใช้

..ในเรื่อง "จิ้งจอกอหังการ" เตี่ยปั่วซัว ได้กล่าวเกี่ยวกับเคล็ดไท้เก็ก ให้ ตั้งอู้ฟังว่า "วงจรรวมยากเข้าใจปรุโปร่ง สอดคล้องกลมกลืนไม่สิ้นสุด  ล่อศัตรูเข้าสู่วงจรรวม สี่ตำลึงสามารถปาดพันชั่ง เคลื่อนไหวมือเก้าตั้งตรงขวาง วงจรในฝ่ามือไม่เคยผิดพลาด ต้องการทราบความลับของวงจร ใช้ถูกต้องเป็นสัมฤทธิผล" (จิ้งจอกอหังการ เล่ม 1 หน้า 163)...อีกช่วงหนึ่งคือ

"เราใช้พลังรูปวงจร ผลักดันศัตรูเข้าสู่วงจรของเรา เมื่อถึงเวลาคิดบังคับไปซ้ายก็ไปซ้าย บังคับไปขวาก็ไปขวา จากนั้นใช้พลังแผ่วเบา สี่ตำลึงปาดกำลังพันชั่งของศัตรู ควรใช้พลังตั้งทำลายศัตรูทอดขวาง เครื่องตัดสินผลแพ้ชนะของหมัดไท้เก็กอยู่ที่ค้นหาจุดเริ่มเล็งจู่โจมใส่จุดอันถูกต้อง" (จิ้งจอกอหังการ เล่ม 1 หน้า 164)



เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย:
2  เมล็ดข้าว  =  1 กล่อม
2  กล่อม  =  1 กล่ำ
2 กล่ำ  = 1 ไพ
4 ไพ  = 1 เฟื้อง
2 เฟื้อง  =  1 สลึง
4 สลึง =  1 บาท
4 บาท  =  1 ตำลึง
20  ตำลึง  =  1 ชั่ง
100  ชั่ง =  1 หาบ

วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556

..ว่าด้วยเรื่อง "ช่วงชิง"

..ว่าด้วยเรื่อง "ช่วงชิง"


.ช่วงชิง วิ่งราว!

..ในนิยายของปู่กิม ได้เขียนเป็นช่วงเวลาต่างในอ้างอิงตาม ราชวงศ์หลายๆช่วง ตัวอย่างเช่น แปดเทพอสูรมังกรฟ้า (天龙八部 "เที้ยนหลงป๊ะปู้") , มังกรหยก (射雕英雄传 "เฉ่อเตียวอิ้งฉงจ้วน") ที่อยู่ในช่วงราชวงศ์ซ่ง หรือ ซ้อง(宋朝 "ซ่งฉาว") หรือ กระบี่เย้ยยุทธจักร (笑傲江湖 "เชี่ยวเอ้าเจียงหู") ที่เรื่องราวเกิดในช่วงราชวงศ์หมิง หรือ เหม็ง(明朝 "หมิงฉาว") ส่วนใหญ่แล้วถ้านับจาก 15 เรื่องทั้งหมดของปู่กิมย้ง นับได้ประมาณ 7 เรืองทีเดียวที่อยู่ในช่วงราชวงศ์ชิง( 清朝 "ชิงฉาว")

..วันนี้จะกล่าวถึงสามในสี่ที่มีเนื้อเรื่องอ้างอิงกัน นั่นก็คือ "อุ้ยเซี่ยวป้อ" , "จิ้งจอกอหังการ" และ "จิ้งจอกภูเขาหิมะ" อย่างที่บอกคือ สามในสี่ อีกเรื่องนึงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกันก็คือ เพ็กฮวยเกี่ยม (เจ้าของบล็อค ยังไม่ได้อ่าน) โดยทั้งหมดนี้เป็นเรื่องราวที่อยู่ในช่วงของราชวงศ์ชิงนั่นเอง

โง้วซำกุ่ย

ลี้จื่อเซ้ง

..Flash Back กลับไป..ต้องทราบก่อนว่าราชวงศ์ชิงสามารถสถาปนาใน แผ่นดินชาวฮั่นได้เพราะ คนสำคัญ สองคนนั้นคือ ลี้จื่อเซ้ง หรือ หลีซื่อเฉิง(李自成) และ โง้วซำกุ่ย หรือ อู๋ซันก้วย (吳三桂)

..ข้อมูลคร่าวๆของ ลี้จื่อเซ้ง ผู้นำกบฎชาวนาในยุคปลายราชวงศ์หมิง สามารถอ่านได้ในบทความก่อนหน้านี้ "..ว่าด้วยเรื่อง พรรคฟ้าดิน" ส่วน โง้วซำกุ่ย นั้นเป็นใครกัน เค้าคือ แม่ทัพในราชวงศ์หมิง ผู้ซึ่งเปิดประตูด่าน ชันห่ายก๊วน (山海关) ซึ่งเป็นด่านทางตะวันออกของกำแพงเมืองจีน ให้พวกทหารแมนจูบุกเข้าปักกิ่งเป็นเหตุให้ราชวงศ์หมิงล่มสลาย

..โดยภายหลังที่ ลี้จื่อเซ้ง นำกำลังปฏิวัติ ฮ่องเต้ ฉงเจิน(崇祯)จนพระองค์ต้องผูกพระศอสวรรคตไป บริวารลี้จื่อเซ้งจับตัว เฉินหยวนหยวน(陈圆圆) นางกำนัลคนงามของ โง้วซำกุ่ย ไปด้วย. โง้วซำกุ่ยความจริงยอมสวามิภักดิ์แล้ว แต่พอทราบว่า เฉินหยวนหยวน ถูกจับตัวไปเป็นตัวประกัน ก็ร้องขอกำลังทหารจากแมนจู ชักนำแมนจูเข้าด่านมา

ด่านชันห่ายก๊วน(山海关)

..ลี้จื่อเซ้ง ยกทัพออกไปรบกับ โง้วซำกุ่ยแต่ดันเจอกับ ทัพของแมนจูที่เข้มแข็ง ทัพของ ลี้จื่อเซ้งจึงแตกพ่ายไปตามประวัติศาสตร์มีหลายข้อ บอกว่า ลี้จื่อเซ้ง เสียชีวิตไปในศึกครั้งนั้น บ้างก็บอกว่า ถูกประชาชนรุมสังหาร หรือไม่ก็ หนีไปบวชเป็นหลวงจีน หรือว่าถูก องครักษ์สังหาร

....

หนังสือ อุ้ยเซี่ยวป้อ ,จิ้งจอกอหังการ และ จิ้งจอกภูเขาหิมะ ฉบับพิมพ์ภาษาไทย

..แล้วนี่เกี่ยวข้องอย่างไรกับ อุ้ยเซี่ยวป้อ , จิ้งจอกอหังการ และ จิ้งจอกภูเขาหิมะ กัน...ไม่มีอะไรมากแค่หาเรื่องเขียนให้มันดูไม่น้อยเกินไปแค่นั้นเอง (แค่นเสียงหัวเราะ)
..กล่าวคือ บทบาทของ โง้วซำกุ่ย และ ลี้จื่อเซ้ง มาปรากฎใน นิยายทั้งสามเรื่องนี้ โดยในเรื่อง วิเศษน้อย..อุ้ยเซี่ยวป้อ นั้น โง้วซำกุ่ยที่เป็นถึง ท่านอ๋องเจ้าพิชิตประจิม ศัตรูตัวฉกาจที่คิด ทรยศกบฎ ต่อ ราชสำนักชิง ของ กษัตริย์คังซี ส่วน ลี้จื่อเซ้งก็ปรากฎตัวเช่นกัน เป็นหลวงจีน หลังจากในเนื้อเรื่องกล่าวกันว่าได้เสียชีวิตไปแล้ว ซึ่งเกี่ยวพัน กับ เฉินหยวนหยวน ซึ่งเป็นแม่ของ หนึ่งในภรรยาของ อุ้ยเซี่ยวป้อ นาม "อาคอ"

..ส่วนในเรื่อง จิ้งจอกทั้งสองเรื่อง (เป็นเนื่อเรื่องต่อเนื่องกัน สามารถอ่านเรื่องไหนก่อนก็ได้) บทบาทของ โง้วซำกุ่ย และ ลี้จื่อเซ้ง อาจจะไม่เยอะมีการกล่าวถึงไม่กี่คำ..โดยเมื่อครั้งที่ลี้จื่อเซ้งถูกโง้วซำกุ่ย ชักนำกองกำลังนอกด่านเข้าสู่ตงง้วนนั้นได้ถูกปิดล้อม ในขณะที่อับจนหนทางองค์รักษ์คนสนิทของลี้จื่อเซ้ง แซ่โอ้ว ฉายาจิ้งจอกเหินฟ้า ได้ออกอุบายโดยนำศพของทหารมาปลอมแปลงเป็นศพของลี้จื่อเซ้ง แล้วยอมสวามิภักดิ์ต่อโง้วซำกุ่ย ในขณะที่ลี้จื่อเซ้ง ได้หนีไปเร้นกายยังหุบเขาไกลตา ภายหลังนั้นจิ้งจอกเหินฟ้าได้พยายามยุแยงให้โง้วซำกุยขัดแย้งกับราชสำนักแมนจู แต่น่าเสียดายที่องค์รักษ์อีกสามคนของลี้จื่อเซ้ง อันได้แก่ แม่ทัพเมี้ยว ฮ่วม และฉั้ง ที่สาบานเป็นพี่น้อง กับ แม่ทัพแซ่โอ้ว ต้องเข้าใจผิดจิ้งจอกเหินฟ้า จนเป็นเหตุให้จิ้งจอกเหินฟ้าถูกทั้งสาม ฆ่าตาย จนเป็นเหตุให้ ทั้ง สี่ตระกูล โอ้ว เมี้ยว ฮ่วม ฉั้ง ต้องประหัตประหารกัน หลายช่วงรุ่นจนกระทั้งมาถึงรุ่น ของ โอ้วฮุย หรือ จิ้งจอกภูเขาหิมะ นั่นเอง


ส่งท้าย
..มีคำกล่าวว่า สาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ แมนจูเข้าด่านมาได้นั่นคือ เฉินหยวนหยวน หรือ ตั้งอี่อี้ (陈圆圆) ทีได้กล่าวไปข้างต้น โดยที่ นางเป็นหญิงงามอันดับหนึ่งใน สมัยนั้นเลยทีเดียว โดยคำกล่าวมักกล่าวอ้างว่า เสน่ห์ของนางทำให้ โง้วซำกุ่ย และ ลี้จื่อเซ้ง ถึงกับรบพุ่งกันเลยทีเดียว นั่นก็จะตรงกับเรื่องในตอนนี้ว่า "ช่วงชิง" (หญิงงาม)
..

วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

..ว่าด้วยเรื่อง พรรคฟ้าดิน

..ว่าด้วยเรื่อง พรรคฟ้าดิน

พรรคฟ้าดิน(สลาย) ไม่ใช่ล่ะ!!

..หลังจากที่ได้อ่านอุ้ยเซี่ยวป้อ (วิเศษน้อย) จบไปพักนึงแล้ว และช่วงนี้ไม่ได้เขียนบล็อคออกมาพักนึงแล้วก็เลยคิดว่าน่าจะเขียนอะไรเกี่ยวกับ นิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องนี้ของท่านปู่กิมดี คิดไปคิดมา เห็นในโทรทัศน์ข่าวเรื่องการเมือง มีพรรคโน้นพรรคนี้วุ่นวายไปหมด..เอาหล่ะตกลงใจเขียนเรื่อง พรรคดีกว่า ก็เลยนึกขึ้นได้ว่าใน อุ้ยเซี่ยวป้อ มีพรรคอยู่พรรคนึงในช่วงยุคสมัยต้นราชวงศ์ชิง อันเป็นยุคหลักในนิยายเรื่องนี้..นั่นก็คือ พรรคฟ้าดิน หรือ สมาคมฟ้าดินนั่นเอง

อุ้ยเซี่ยวป้อ หนังใหญ่แสดงโดย โจวซิงฉือ

..อะไรคือ พรรคฟ้าดิน, หลายท่านคงเคยได้ยินถ้าได้ดูหนังจีนหลายๆเรื่องที่ตัวเองไว้ผมเปีย!? (นั่นหมายความว่าเป็นยุคของราชวงศ์ชิง หรือ แมนจู) พรรคฟ้าดินมักจะถูกเอ่ยอ้างบ่อย อย่างเช่นในเรื่อง หวงเฟยหง เป็นต้น

..ต้องบอกก่อนว่าก่อนหน้าที่ราชวงศ์ชิง จะครองแผ่นดิน ราชวงศ์ก่อนหน้านี้คือ ราชวงศ์หมิง(เหม็ง)ซึ่งถือเป็นสายเลือดบริสุทธิ์ของชาวฮั่น ส่วนราชวงศ์ชิงนั้นเป็นเชื้อสายชาวแมนจู ซึ่งชาวฮั่นมองว่าเป็นพวกชาวต่างชาติ
การแต่งกายช่วงราชวงศ์ชิง(แมนจู)

แผ่นดินช่วงราชวงศ์หมิงครองราช

..เรื่องมันเกิดตั้งแต่ปลายราชวงศ์หมิงซึ่งว่ากันว่าเป็นยุคตกต่ำของชาวฮั่น..มีการลุกฮือของประชาชนขึ้นต่อสู้กับราชสำนักอยู่ไม่ขาด โดยเฉพาะหลังจากเกิดเหตุภัยทางธรรมชาติทำให้ไม่สามารถเก็บผลผลิตทางการเกษรได้ แต่เจ้าหน้าที่บ้านเมืองยังขูดรีดภาษีอย่างมากมาย..หลีซื่อเฉิง แม่ทัพกบฎชาวนาได้ยกทัพเข้าตีกรุงปักกิ่ง และโค่นการปกครองของราชวงศ์หมิงลง จนจักรพรรดิฉงเจิน กษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์หมิงผูกพระศอ(คอ)ใต้ต้นไม้สิ้นพระชนม์ที่เชิงเขาเจียงซาน

..จากนั้นทหารแมนจูได้โอกาสเข้าโจมตีทหารชาวนา จนชนะในที่สุดและเข้ายึดครองประเทศจีนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาและสถาปนาราชวงศ์ชิงขึ้น..ดังนั้นช่วงเริ่มต้น จึงเกิดการต่อต้านจาก ชาวฮั่นต่อแมนจูที่มาปกครองแผ่นดินจีน

..โดยพรรคฟ้าดิน( เที้ยนตี้หุ้ย Tiandihui,天地會) หรือ หงเหมิน(Hongmen 洪门) ได้ก่อกำเนิดขึ้นเป็น กลุ่มคนที่จงรักภักดีใน ราชวงศ์หมิง(เหม็ง)..โดยมีม้อตโต้ประจำตัวคือ "反清复明 (ฝานชิงฟู่หมิง)" หรือ "โค่นชิง ฟื้นฟูหมิง" นั่นเอง โดยเป็นสมาคมลับๆโดยหลบซ่อนจากเจ้าหน้าที่บ้านเมืองในสมัยนั้น

..ว่ากันว่าช่วงแรกของราชวงศ์ชิง พรรคฟ้าดินยังไม่ถือกำเนิดขึ้น แต่มาก่อตั้งในรัชกาล จักรพรรดิคังฮี (คังซี) โดยเกิดเหตุการณ์ล้อมสังหารหลวงจีนทั้ง 128 ณ วัดเส้าหลินของทหารชิง และมีหลวงจีนหนีรอดไปได้ 5 องค์ และหลวงจีนทั้ง 5 องค์นี้ได้ไปจับมือกับ กลุ่มจงรักภักดีใน ราชวงศ์หมิง ก่อตั้งเป็น "Heaven and Earth Society" ขึ้น

..พรรคฟ้าดินมี คำสาบาน 36 ข้อ ข้อห้ามทั้ง 10 บทลงโทษทั้ง 10 หลักการทั้ง 21 ข้อ (อ้างอิงจาก อุ้ยเซี่ยวป้อ เล่ม 1 หน้า 350)
สมาคมอั้งยี่

เกร็ดเล็กๆน้อยๆ: คำว่า หงเหมิน 洪门 เดิมคือ ฮั่นเหมิน 漢门 แปลว่าประตูชาวฮั่น โดยตัว ตัดคำ (ตง คือ จีน) และ(โท่ว คือ ผืนดิน) ตรงกลางออก กลายเป็น (หง สำเนียงแต้จิ๋วอ่าน อั้ง) นั่นหมายความว่า ชาวฮั่นถูกแมนจูตัดยึดครองผืนดินจีนออกไป (ดังปรากฎใน อุ้ยเซี่ยวป้อ เล่ม 1 หน้า 350 "คำอั้ง(洪) ในสำนักอั้งเรา แท้จริงมาจากคำ "ฮั่น" ในชาวฮั่นเรา  แผ่นดินของชาวฮั่นเราถูกแมนจูยึดครอง สูญเสียปฐพี ในคำ "ฮั่น" ลบคำ "โท่ว"(ผืนดิน) ไป จึงกลายเป็น "อั้ง" แล้ว") พูดง่ายๆก็คือ สมาคมฟ้าดิน ก็คือ สมาคมอั้งยี่นั่นเอง

ซ้าย: จักำพรรดิคังซี ,กลาง: จักรพรรดิยงเจิ้ง, ขวา: จักรพรรดิเฉียนหลง

อย่างไรก็ตามราชสำนักชิงได้ดำเนินนโยบายส่งเสริมการทำไร่ไถนา ขยาย พท.เพาะปลูก และลดหรือเลิกภาษีของชาวไร่ชาวนาตามสมควรทำให้สังคมจีนในสมัยนั้นพัฒนาก้าวหน้า กลางศตวรรษที่ 18 เศรษฐกิจสังคมศักดินายุคชิงได้พัฒนามากสู่ระดับสูงสุด ได้รับสมญาว่าเป็น "สมัยที่เจริญรุ่งเรือง คังยงเฉียน (หมายถึงจักรพรรดิ คังซี,ยงเจิ้ง,เฉียนหลง)"